ผลการจัดการเรียนรู้ระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วนกับแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วนที่มีผลต่อทักษะหน้ามือและหลังมือกีฬาเทนนิสสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ธนากร ศรีชาพันธุ์
จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฏ์
เอกราช ถ้ำกลาง
พิชามญช์ จันทุรส

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วนกับแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วนที่มีต่อทักษะหน้ามือและหลังมือกีฬาเทนนิสของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนการสอนและภายหลังการสอนสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8  2) เปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มจากการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วนกับแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วนที่มีต่อทักษะหน้ามือและหลังมือกีฬาเทนนิส ก่อนการสอนและภายหลังการสอนสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากิจกรรมพลศึกษา (เทนนิส)  จำนวน 90 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 วิธีสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 วิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วน จำนวน 30 คนและกลุ่มที่ 3 วิธีสอนแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทักษะกีฬาเทนนิสการตีลูกหน้ามือและหลังมือ สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองมิติ


ผลการวิจัย พบว่า


            1) ผลการจัดการเรียนรู้ระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วนกับแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วนที่มีต่อทักษะหน้ามือและหลังมือกีฬาเทนนิสของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนการสอนและภายหลังการสอนสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


            2) ค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มที่ได้จากผลการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนแบบรวมส่วนแล้วแยกส่วนกับวิธีสอนแบบแยกส่วนแล้วรวมส่วนที่มีต่อทักษะหน้ามือและหลังมือกีฬาเทนนิส ก่อนการสอนและหลังการสอนสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์และไสว ฟักขาว. (2560). คิดผลิตภาพ : สอนและสร้างได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรศักดิ์ เพียรชอบ และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับหลักการ วิธีสอนและการวัดและประเมินผลทางการพลศึกษา พิมพิ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา นพรัตน์. (2548). e-Learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 48(167), 15-16.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2563). ปี 2564 ปีที่ 21 แห่งศ. ที่ 21: ปฏิรูปการเรียนรู้พลศึกษาในสถานศึกษาหรือยัง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(2), 1-19.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2545). รายงานผลการสํารวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2544. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ

Agyei, D. D., & Voogt, J. (2012). Developing technological pedagogical content knowledge in pre-service mathematics teachers through collaborative design. Australasian Journal of Educational Technology, 28(4), 547-564.

Brown, J. D. (1990). The effect of Cooperative and individualistic goal structures on the learning domains of beginning tennis students. Dissertation Abstracts International. 50(2) : 1977A-1978A.

Gao, P., Tan, S. C., Wang, L., Wong, A. & Choy, D. (2011). Self-reflection and preservice teachers'technological pedagogical knowledge: Promoting earlier adoption of student-centered pedagogies. Australasian Journal of Educational Technology, 27(6), 997-1013.

Gamble, J. R. (1986). “Early Environmental Factors Reported by Amateur tennis Players”, Dissertation Abstracts international. 46(7), 18-65.

Jones, A., & Moreland, J. (2004). Enhancing practicing primary school teachers’ pedagogical content knowledge in technology. International Journal of Technology and Design Education, 14(2), 121-140.

Kretschmann, R. (2010). Looking toward the future of technology-enhanced education: Ubiquitous learning and the digital native. Hershey, USA: IGI Global.

Kim C., Li W., & Kim D. J. (2015). An empirical analysis of factors influencing M-shopping use. International Journal of Human-Computer Interaction, 31, 974–994.

Lee, M. H., & Tsai, C. C. (2008). Exploring teachers perceived self-efficacy and technological pedagogical content knowledge with respect to educational use of the world wide web. Instructional Science, 38(1), 1-21.

Hensley, L. (1989). Tennis Skills Test Manual. Iowa: University of Northern Iowa.

Laohajaratsang, T. (1998). Designing e-Learning principles of web design and creation for teaching and learning. Bangkok: Arun kanphim.

Myers, J. L., Well, A. D., & Lorch, R. F. (2010). Research Design and Statistical Analysis. 3rd Edition. New York: Routledge.

MacDonald, D. & Hay, P. (2010). Health & physical education as/and technology: An Australian perspective. Iowa, USA: IGI Global.

Mohnsen, B. (2008). Using technology in physical education (6thed.). Cerritos, CA: Bonnie’s Fitware Inc.

NASPE (National Association for Sport and Physical Education) (2009). Appropriate use of instructional technology in physical education. Position Statement. Reston, VA: NASPE.

Nathan, E. J. (2009). An examination of the relationship between pre-service teachers’ level of technology integration self-efficacy (TISE) and technological pedagogical content knowledge (TPACK). Unpublished Doctoral Dissertation, University of Houston.

Roblyer, M. D., & Doering, A. H. (2005). Integrating educational technology into teaching. Lebanon: Pearson.

Singer, R. N. (1974). Teaching physical Education System Approach. Boston: Houshton Miffine Co.

O’Sullivan, J. (2019). Every Moment Matters: How the World's Best Coaches Inspire Their Athletes and Build Championship Teams. Oregon: Upfront Books.

So, J. H., & Kim, B. (2009). Learning about problem based learning: Student teachers integrating technology, pedagogy and content knowledge. Australasian Journal of Educational Technology, 25(1), 101-116.

Shaw, W. (2022). Whole & Part Practice: Answer for Coaches & Athletes. Available from: https://sportscienceinsider.com/whole-and-part-practice/.

Simms, S. (2021). Teaching Methods. Available from: https://www.teachpe.com/sports-psychology/teaching-methods.