การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยม เพื่อพัฒนาค่านิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ประสิทธิ์ คำพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยม เพื่อพัฒนาค่านิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมไทยกับประชาคมอาเซียนในโลกปัจจุบันด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยม เพื่อพัฒนาค่านิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนค่านิยมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยม และ 5) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 25 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินค่านิยม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


         1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกระจ่างค่านิยม เพื่อพัฒนาค่านิยม ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ค้นหาค่านิยม (2) ตรวจสอบค่านิยมตนเอง (3) ตรวจสอบค่านิยมของสังคม (4) กำหนดกฎเกณฑ์ และ (5) ปฏิบัติตามค่านิยม


         2) คะแนนทดสอบผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


         3) คะแนนค่านิยมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


         4) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


         5) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติ กลิ่นหอม และสุทธิพร บุญส่ง. (2563). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 59–60.

จินตนา วิไลชนม์ และประสาท เนืองเฉลิม (2561) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(51), 73-83–60.

ชัยพร วิชชาวุธ และธีระพร อุวรรณโณ. (2530). แนวคิดและพัฒนาการใหม่ในการปลูกฝงจริยธรรม: จริยธรรมกับการศึกษา. โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ คำพล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). หลักและเทคนิคการสอนระดับดุมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2542. แนวทางการปฏิรูประบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารปฏิรูปการศึกษา, 1(12), 7.

วันชัย ปานจันทร์. (2561). รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 506-522.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.

สมพร เทพสิทธา. (2542). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

Bloom B S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of Educational goals–Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Creswell, J. W. & Plano Clark, V. L. (2011). Design and conducting mixed methods Research (2nd cd.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1987). Learning Together and Alone: Cooperative, Competitive and Individualistic Learning. 2nd ed. New Jersey: Prentice-Hall

Joyce, B, & Weil, M. & Showers, B. (1992). Model of teaching. 4th ed. Boston: Allyn and Bacon: A Division of Simon & Schuster, Inc.

Raths et al. (1978). Values and Teaching. Ohio: Charles E Merrill Publishing.

Woods, D.R. (1994). Problem-Based Learning: How to Gain the Most from PBL. Hamilton: W.L. Griffin Printing Limited.