การรับรู้สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินการรับรู้สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในระหว่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์จำนวน 72 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การรับรู้สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ one-sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนคือ 32.18 จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน ( = 32.18, S.D. = 4.95) เมื่อทำการวิเคราะห์คะแนนของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า นักเรียนมีคะแนนสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของตนเองอยู่ในระดับสูง แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังมีการรับรู้สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะด้านการแบ่งบทบาทหน้าที่และการกำหนดขอบเขตของงานยังไม่ชัดเจน และยังขาดการติดตามการทำงานภายในกลุ่ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา คำสมบัติ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ประวิทย์ สิมมาทัน. (2562). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองกับกิจกรรมการเรียนการสอน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 69-78.
จรูญพงษ์ ชลสินธุ์, สิรินภา กิจเกื้อกูล, และ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 32-46.
จุสิฑามาศ วงษ์นิล, และ ธิติยา บงกชเพชร. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง ธรณีพิบัติภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 1602-1616.
เฉลิมพร เตชะพะโลกุล, สกนธ์ชัย ชะนูนันท์, และ จินตนา กล่ำเทศ. (2562). การศึกษาการประยุกต์ห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของผู้เรียนในรายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(3), 173-187.
นัตยา หัสมินทร์, และ ธิติยา บงกชเพชร. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 166-175.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศมกร ศิลาโชติ, สิรินภา กิจเกื้อกูล, และ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องไฟฟ้าเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 248-261.
ศศิวิมล ภูศรีโสม และ กัญญารัตน์ โคจร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับหลักการการเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬา
นาครทรรศน์, 7(9), 267-282.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). PISA 2015 ผลการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ(collaborative problem solving). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุมิตรา บูชา และ สุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬา
นาครทรรศน์, 7(12), 210-221.
หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม, และ นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2565). การทำงานเป็นทีมของนักเรียน : ปัจจัยเชิงสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 425-438.
Amri, M., & Sert, O. (2022). Establishing understanding during student-initiated between-desk instructions in project work. Cambridge Journal of Education, 52, 667-689. DOI:10.1080/0305764X.2022.2047890
Chang Y., Brickman P. (2018). When group work doesn’t work: Insights from students. CBE—Life Sciences Education, 17(3). DOI:10.1187/cbe.17-09-0199
Creswell, J. W. (2015). A concise introduction to mixed methods research. Thousand Oaks, C.A.: Sage Publications.
Dorfman, B. S., & Fortus, D. (2019). Students' self‐efficacy for science in different school systems. Journal of Research in Science Teaching, 56(8), 1037-1059. DOI:10.1002/tea.21542
Griffin, P., McGaw, B., และ Care, E. (2012). Assessment and Teaching of 21st Century Skills (Educational Assessment in an Information Age). NY: Springer.
Jamil, N. L., & Mahmud, S. N. D. (2019). Self-efficacy relationship on science achievement amongst national secondary school students. Creative Education, 10, 2509-2527. DOI:10.4236/ce.2019.1011179
Koh, C., Wang, C. K. J., Tan, O. S., Liu, W. C., & Ee, J. (2010). Bridging the Gaps Between Students' Perceptions of Group Project Work and Their Teachers' Expectations. The Journal of Educational Research, 102(5), 333-347. DOI:10.3200/JOER.102.5.333-348
Oakley, B., Felder, R., Brent, R., & Elhajj, I. (2004). Turning Student Groups into Effective Teams. Journal of Student Centered Learning, 2(1), 9--34. DOI:10.1.1.422.8179.
OECD. (2017a). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD Publishing.
OECD. (2017b). PISA 2015 Results (Volume V): Collaborative Problem Solving. Paris: OECD Publishing.
Oliveri, M. E., Lawless, R., และ Molloy, H. (2017). A Literature Review on Collaborative Problem Solving for College and Workforce Readiness. ETS Research Report Series, 1, 1-27. DOI:10.1002/ets2.12133
Premo, J., Wyatt, B.N., Horn, M., & Wilson-Ashworth, H. (2022). Which Group Dynamics Matter: Social Predictors of Student Achievement in Team-Based Undergraduate Science Classrooms. CBE—Life Sciences Education, 21(3), 1-17. DOI:10.1187/cbe.21-06-0164
Schwarzer, R., & Warner, L. M. (2013). Perceived self-efficacy and its relationship to resilience. In S. Prince-Embury & D. H. Saklofske (Eds.), The Springer series on human exceptionality: Resilience in children, adolescents, and adults: Translating research into practice (pp. 139-150). DOI:10.1007/978-1-4614-4939-3_10
Sjøberg, S., & Jenkins, E. (2022). PISA: a political project and a research agenda. Studies in Science Education, 58(1), 1-14. DOI:10.1080/03057267.2020.1824473
Tucker, R., & Abbasi, N. (2016). Bad Attitudes: why design students dislike teamwork. Journal of Learning Design, 9(1), 1-20. DOI:10.5204/jld.v9i1.227