กรณีศึกษาเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสซึมในการรู้จักสีจากกิจกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางสายตา

Main Article Content

ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส
วิชชุดา อุ่นแสงจันทร์

บทคัดย่อ

เด็กที่มีภาวะออทิสซึมสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการมอง การเห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม และการได้สัมผัส ดังนั้นการจัดกิจกรรมให้ได้เรียนรู้จากการมองและการปฏิบัติจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้จักสีโดยจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อสนับสนุนทางสายตา ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสีโดยเริ่มจากตารางกิจกรรมเพื่อให้เข้าใจว่ามีกิจกรรม 3 อย่างคือ 1) การฟังนิทานโดยใช้หุ่นมือเล่านิทาน 2) การทำกิจกรรมศิลปะ 3) การบอกสีที่ใช้ในผลงานศิลปะด้วยการ์ดสี โดยทุกกิจกรรมจะใข้สื่อของจริง ของเล่นจำลอง รูปภาพ และภาพลายเส้น กิจกรรมจัดสัปดาห์ละสี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีฟ้า สีส้ม และสีเขียว ตามลำดับ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจับคู่การ์ดสีกับสิ่งของรอบตัวไม่ถูกต้อง สามารถระบายสีภาพได้ถุกต้องตามสภาพจริงเพียงสองสี คือ สีแดงและสีฟ้า เมื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้สามารถจับคู่การ์ดสีกับของจริงและของเล่นจำลอง สามารถทำกิจกรรมศิลปะโดยใช้สีตรงกับสภาพจริง และบอกสีที่ใช้ระบายภาพลายเส้นด้วยการ์ดสีได้ถูกต้อง เมื่อสิ้นสุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปแล้วสองสัปดาห์ สามารถจับคู่การ์ดสีกับสิ่งของและระบายสีภาพได้ถูกต้องตรงตามสภาพจริง แสดงให้เห็นว่า การใช้สื่อสนับสนุนทางสายตาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในทุกกิจกรรมช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสซึมเกิดการเรียนรู้และมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี


 


คำสำคัญ: เด็กปฐมวัย; ภาวะออทิสซึม; กิจกรรมศิลปะ; สื่อสนับสนุนทางสายตา; การรู้จักสี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์. (2549. กิจกรรมภาษาอังกฤษกับศิลปะสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้. วารสารการศึกษาปฐมวัย. (1)8, 31-37.

ขวัญใจ ชูกิจคุณ และระพีพร ศุภมหิธร. (2556). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา เรื่อง การพิจารณาความต้องการพิเศษเฉพาะบุคคลของนักศึกษาที่มีภาวะออทิสซึมและความบพร่องที่ไม่เด่นชัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

นัยวรรณ เอกสุภาพันธุ์ และนวลวรรณ หวยเจริญ(2559). อิทธิพลของสีผนังในห้องเรียนที่มีผลต่อเด็กออทิสติก. International Conference on Research and Design in Architecture and Related Fields 2016. A23-A34. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน.

นุชฤดี รุ่ยใหม่. (2551). พัฒนาการทางคำศัพท์ของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้กิจกรรมเล่านิทาน: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนา เด็กเล็กจังหวัดพัทลุงที่มีนักศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(2), 78-86.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุกเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 80ง หน้า 45.

ผดุง อารยวิญญู. (2546). วิธีการสอนเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28ก หน้า 1-13.

วันทนีย์ เรียงไรสวัสดิ์. (2547). ผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนออทิสติกระดับอนุบาล โรงเรียนกาวิละอนุกูล ปีการศึกษา 2547. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ.

วุฒิภา สว่างสุข. (2554). การศึกษาการจัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภจฉรีย์ จันทนา. (2546). การจัดการเรียนสำหรับเด็กออทิสติก. สานปฏิรูป. 5(8), หน้า 25-28.

สถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี. (2546). คู่มือคุณครูสำหรับช่วยเหลือเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: ชัยเจริญ.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2553). คู่มือการจัดกิจกรรมศิลปะและกระบวนการออกแบบสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สุทธานันท์ กัลกะ. (2561). การช่วยเหลือเด็กออทิสติก: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 24 (3), 228-238.

แอนเดอร์สัน, ฟรานคิส อี. (2557). ศิลปะศูนย์กลางการศึกษาและการบำบัดเด็กพิการ. (เลิศศิริร์ บวรกิตติ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2550). ช่วยลูกออทิสติก คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ไม่ยอมแพ้. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.

Akande, A. (2006). Assessing Color Identification in Children with Autism. Early Child Development and Care, 164(1), 95-104. https://doi.org/10.1080/03300443001640108

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder (5th ed.). Washington, DC: American Psychiatric Association.

Aminimanesh, A., Ghazavi, Z., & Mehrabi, T. (2015). Effective of the Puppet Show and Storytelling Methods on Children’s Behavioral Problems. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 24(1), 61-65.

Authur-Kelly, M., Sigafoos, J., Green, V., Mathisen, B., & Arthur-Kelly, R. (2009). Issues in the Use of Visual Supports to Promote Communication in Individuals with Autism Spectrum Disorder. Disability and Rehabilitation, 31, 1474-1486.

Carson, K. D., Gast, D. L., & Ayres, K. M. (2008). Effects of a Photo Activity Schedule Book on Independent Task Changes by Students with Intellectual Disabilities in Community and School Job Sites. European Journal of Special Needs Evaluation, 23, 269-279.

Chon Fu, L. (2023). Can Colors Influence Learning Abilities for Kids With Autism? Autism Parenting Magazine. Retrieved from https://www.autismparentingmagazine.com/learning.abilities-with-autism-kids/

Cohen, M., & Sloan, D. (2007). Visual Strategies for People with Autism. Bethesda, MD: Woodbine House.

Deris, A.R., & Dicalo, C.F. (2013). Back to basics: working with young children with autism in inclusive classroom. Support for Learning. 28(2), 52-56.

Dooley, P., Wilezenski, F. L., & Toren, C. (2001). Using an Activity Schedule to Smooth School Transition. Journal of Positive Behavior Interventions, 3, 57-61.

Franklin, A, Sowden, P., Burley, R., Notman, L., & Alder, E. (2008). Color perception in children with autism. Journal of Autism and Developmental Disorders, 38(10), 1837-1847.

Ganz, J/ B., & Flores, M. M. (2008). Effects of the Use of Visual Strategies in Play Groups for Children with Autism Spectrum Disorders and Their Peers. Journal of Autism and Developmental Disorders, 38, 926-940.

Grandin, T. (1995). Thinking in Pictures and Other Reports from My Life with Autism. New York: Doubleday.

Grandin, T. (2015). The way I see it: A Personal look at autism & Asperger’s (4th ed.). Texas: Future Horizons.

Grandgeogre, M., & Masataka, N. (2016). Atypical Color Preference in Child with Autism Spectrum Disorders. Frontiers in Psychology. online publication. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2013.01976

Hodgdon, L.A. (2000). Visual Strategies for improving communication. Michigan: OuirkRoberts Publishing.

Meadan, H., Ostrosky, M.M., Triplett, B., Michna, A., & Fetting, A. (2011). Using Visual Supports With Young Children With Autism Spectrum Disorder. Teaching Exceptional Children, 43(6), 28-35.

Remer, R., & Tzuriel, D. (2015). “I Teach Better with the Puppet” – Use of Puppet as a Mediating Tool in Kindergarten Education- an Evaluation. American Journal of Education Research, 3(3), 356-365.

Spencer, T.D., Kajian, M., Peterson, D.B., & Bilyk, N. (2013). Effects of an Individualized Narrative Intervention on Children’s Storytelling and Comprehension Skills. Journal of Early Intervention, 35(3), 243-269.

Voyage Care. (2024). Autism and colour: its role in the world of an autistic person. Retrieved from https://www.voyagecare.com/news/autism-and-colour/

Yin, R.K. (2003). Case Study Research: Design and Methods (3rd ed.). California: Sage Publications.