แนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Mixed Methods Research Design) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 2) แนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประชากรเป็นโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 26 โรงเรียน จำแนกผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 152 คน และกลุ่มที่ 2
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 30 คน
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 182 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นที่มากที่สุดของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน และด้านการประเมินผล ประกอบด้วย 5 ด้าน
2) แนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย แนวปฏิบัติที่ดีด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ จำนวน 16 แนวปฏิบัติ
ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แนวปฏิบัติ และด้านการประเมินผล จำนวน 20 แนวปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชมล อยู่สุข อนุศักดิ์ เกตุสิริ และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 8(3), 152-166.
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา. พิษณุโลกดอทคอม.
กฤษณา หมั่นซ่อม. (2545). สภาพและปัญหาการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนจานแสนไชยผักไหม สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ์. (2547). การบริหารงานวิชาการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นฏกร ปิ่นสกุล จิติมา วรรณศรี วิทยา จันทร์ศิลา และสำราญ มีแจ้ง. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 71-81.
นุชนภา ราชนิยม. (2558). การศึกษาสภาพ ปัญหา และความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา
ในระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การนิเทศการสอน. บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
พรวัชร บุญประเสริฐ และพนมพร จันทรปัญญา. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน: การวิเคราะห์ความคาดหวังและการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(1), 125-136.
ศิริพร เชาว์โชติ และชุติมา เกศดายุรัตน์. (2559). การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างครูเนอสเซอรี่กับผู้ปกครอง. Journal of Business, Economics and Communications, 11(1), 69-82.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). รู้จักสะเต็ม. Retrieved from http://www.stemedthailand
.org/?page_id=23
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกาาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก. Retrieved from http://library2.parliament.go.th/giventake/
content_nrsa2558/d031459-02.pdf
สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. ไทยร่มเกล้า.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา (STEM Education). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.
สุกัญญา แช่มช้อย และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้าน
สะเต็มศึกษาของประเทศไทย. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
American Evaluation Association. (2011). Guiding Principles for Evaluators. Retrieved from http://www.
eval.org/Publications/GuidingPrinciples.asp
Burke, B. (1998). Evaluating for a change: Reflections on participatory methodology. New Directions for Evaluation, 1998(80), 43-56.
Business Roundtable. (2005). Tapping America's Potential: The Education for Innovation Initiative. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED485768.pdf
Ciarlo, J. A. (1981). Utilizing evaluation: Concepts and measurement techniques. Sage.
Clements, D., Copple, C., & Hyson, M. (2002). Early childhood mathematics: Promoting good beginnings. A joint position statement of the National Association for the Education of Young Children (NAEYC) and the National Council of Teachers of Mathematics (NCTM).
Cousins, J. B., Donohue, J. J., & Bloom, G. A. (1996). Collaborative evaluation in North America: Evaluators' self-reported opinions, practices, and consequences. Evaluation practice, 17(3), 207-226.
Cousins, J., Whitmore, E., Shulha, L., Al Hudib, H., & Gilbert, N. (2015). Principles to guide collaborative approaches to evaluation. Can Evaluation Society.
Fetterman, D. M. (2001). Foundations of empowerment evaluation. Sage.
Fetterman, D. M., & Wandersman, A. (2005). Empowerment evaluation principles in practice. Guilford Press.
Hong, O. (2017). STEAM education in Korea: Current policies and future directions. Science and Technology Trends Policy Trajectories and Initiatives in STEM Education, 8(2), 92-102.
Johnson, C. C., Peters-Burton, Erin E. Moore, Tamara J. (2015). STEM road map: A framework for integrated STEM education. Routledge.
Jones, G., & George, J. (2015). Contemporary management. McGraw-Hill Higher Education.
Mukherjee, K. (2009). Principles of management and organizational behaviour. Tata McGraw-Hill.
National Research Council. (2011). Successful K-12 STEM education: Identifying effective approaches in science, technology, engineering, and mathematics. National Academies Press.
National Science Board. (2007). A national action plan for addressing the critical needs of the US science, technology, engineering, and mathematics education system. National Science Foundation.
National Science Foundation. (2010). Preparing the next generation of STEM innovators: Identifying and developing our nation's human capital. National Science Foundation.
O'Sullivan, R. G. (2004). Practicing evaluation: A collaborative approach. Sage.
O'Sullivan, R. G. (2012). Collaborative evaluation within a framework of stakeholder-oriented evaluation approaches. Evaluation and program planning, 35(4), 518-522.
Patton, M. Q. (1986). Utilization-focused evaluation. Sage.
Smith, M. F. (1988). Evaluation utilization revisited. New Directions for Program Evaluation, 1988(39), 7-19.