การปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์วิถีใหม่ที่บูรณาการความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีในวงจรชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์วิถีใหม่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน จำเป็นต้องเน้นให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการออกแบบและดำเนินการจัดการเรียนการสอน ครูคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Content Knowledge: TPACK) และสามารถใช้ความรู้ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์วิถีใหม่ที่บูรณาการความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีในวงจรชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์แนวคิดชุมชน การเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) แนวทางการสอนที่เน้นการแก้ปัญหา (Problem Solving Approach: PSA) และความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ประกอบกับการแสดงตัวอย่างที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการร่วมกันปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์วิถีใหม่ของทีมบุคลากรทางการศึกษา บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูคณิตศาสตร์ นักวิจัย และนักคณิตศาสตรศึกษา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และการวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์วิถีใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
พระพรหมพิริยะ ถาวโร. (2564). ครูมืออาชีพกับการศึกษาไทยยุคสังคม New normal. ใน พระครูสิริสุตานุยุต (บรรณาธิการ), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” (หน้า 1-11). ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตรี แย้มกสิกร. (2561). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ใน สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (บรรณาธิการ), การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561 เรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย (หน้า 41-49). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค. ลาดพร้าว.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการการนำแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเข้าสู่ภาคปฏิบัติ. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วงศ์วรรธน์ เป็งราชรอง. (2564). มติชนมติครู: การจัดการศึกษาในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2733008
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจริยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285 – 298.
วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. แจงเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564, จาก https://www.obec.go.th/archives/377135
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.
อัจฉรา สีสุกอง และ ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ: TPACK-KWL Plus Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(1), 107-122.
Applied Educational System. (2020). What are 21st Century Skills. Retrieved 10 December 2020 from https://www.aeseducation.com/blog/what-are-21st-century-skills.
Association of Mathematics Teacher Educators. (2021). Mathematics TPACK (Technological Pedagogical Content Knowledge) Framework. Retrieved 13 September 2021 from https://amte.net/sites/all/themes/amte/resources/MathTPACKFramework.pdf
Chatmaneerungcharoen, S. (2019). CO-TPACK: Enhancing Cooperation Among Science Teachers through Technological Pedagogical Content Knowledge. Journal of Education Khon Kaen University, 42(3), 23-37.
DuFour, R. (2004). School as Learning Communities. Educational Leadership, 61(8), 6-11.
DuFour, R., DuFour, R., Eaker, R., & Many, T. (2010). Learning by Doing: A Handbook for Professional Learning Communities at Work (2nd ed.). Indiana: Solution Tree Press.
Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.
Inprasitha, M. (2021). Assessment for Learning in Mathematics Classroom using Lesson Study and Open Approach: Thailand Experience. Retrieved 13 September 2021 from https://fadjarp3g.files.wordpress.com/2015/04/3-1-assessment-for-learning_maitree_10.pdf
Institute for International Cooperation [IFIC], & Japan International Cooperation Agency [JICA]. (2004). The History of Japan’s Educational Development. Japan: Research Group, IFIC, JICA.
Isoda, M. (2010). Lesson Study: Problem Solving Approaches in Mathematics Education as a Japanese Experience. Procedia Social and Behavioral Sciences, 8(2010), 17–27.
Jowell, T. (2018). Analysis of Developing 21st Century Competencies Through Problem Solving in Fiji Primary Mathematics Education. NUE Journal of International Educational Cooperation, 12, 141-150.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2008). Introducing TPCK. AACTE Committee on Innovation and Technology (Ed.), The handbook of technological pedagogical content knowledge (TPCK) for educators (pp. 3-29). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK). Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), 60-70.
Lapek, J. (2018). Promoting 21st Century Skills in Problem-Based Learning Environments. CTETE Research Monograph Series, 1(2018), 66-85.
Levy, F., & Murnane, R. J. (2004). The new division of labor: How computers are creating the next job market. Princeton: Princeton University Press.
Mishra, P., & Koehler, M.J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for integrating technology in teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.
Mitchell, C., & Sackney, L. (2000). Profound Improvement: Building Capacity for a Learning Community. Lisse, The Netherlands: Swets & Zeitlinger.
Stigler, J., & Hiebert, J. (1999). The Teaching Gap. New York: Free Press.
Takahashi, A. (2020). Characteristics of Japanese Mathematics Lessons. Retrieved 10 December 2020 from http://www.criced.tsukuba.ac.jp/math/sympo_2006/takahashi.pdf
Thinwiangthong, S. & Ya-amphan, D. (2021). DIAS model for Learning Measurement in Problem Solving Classroom. Paper presented at the 3rd Virtual Symposium of Dr. K’s International Leadership for Teachers and Students. April 21, 2021.