ปัจจัยที่มีผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

ภัทรา เสมอวงษ์
กฤตณะ พฤกษากร
อาทิตยา เนียมสอาด
อรปรียา ปิยังกร
ธัญภัทร ศาสตระบุรุษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการจัดการการศึกษาให้มีศักยภาพ กำหนดทิศทางการพัฒนาและปรับปรุงการสอนเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร รวมถึงศึกษาความต้องการในมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษา เพื่อนำไปสู่การวางแผน การปรับปุรง การรับมือกับสถานการณ์ต่อไป โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ร่วมระหว่างตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นในระดับปานกลางต่อปัจจัยทุกด้านที่ส่งผลให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาล่าช้า โดยมีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยส่วนตัว ด้านการทำวิจัยงานโปรเจกต์ และด้านระเบียบ/ข้อบังคับ/แนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัย สูงเป็นสามอันดับแรกตามลำดับ และนักศึกษามีความต้องการความช่วยเหลือในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับมากที่สุดในทุกมาตรการ โดยต้องการได้รับทุนการศึกษาประเภททั่วไปมากที่สุด รองลงมาคือการผ่อนชำระ/ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา และเงินช่วยเหลือเมื่อนักศึกษาติดเชื้อ สะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยด้านรายได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้นมหาวิทยาลัยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการเยียวยา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือ และการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 266 – 286.

กรรณิการ์ แสนสุภา, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์ และผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 79 – 92.

จีระนันต์ เจริญรัตน์. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพของนักศึกษาที่มีผลการเรียนปกติโดยใช้ต้นไม้ตัดสินใจ. SNRU Journal of Science and Technology, 8(2), 256 – 267.

ฐานิตา ลอยวิรัตน์, กุศล แก้วหนู และเกศริน คงจันทร์. (2558). การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1 – 10.

นนทวัฒน์ ทวีชาติ, อรยา เพ็งประจญ, วิไลรัตน์ ยาทองไชย และชูศักดิ์ ยาทองไชย (2562). ระบบทำนายการพ้นสภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์ ด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 47 – 60.

นันธวัช นุนารถ. (2558). ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชน. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. (หน้า 324 – 335) กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). การวิจัยและประเมินผลประสิทธิภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 26 3-5 กุมภาพันธ์ 2531 (หน้า 296 – 312). รายงานผลการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์ สังคม มนุษศาสตร์และศึกษาศาสตร์.

พีรฉัตร อินทชัยศรี และมานัดถุ์ คำกอง. (2564) การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การรอดชีพในการศึกษาการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Journal of Education Naresuan University, 23(3), 217 – 228.

ภูษณิศา สิริวรพร. (2557). สาเหตุการออกกลางคันและแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของสถาบันการพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: วิจัยและประเมินผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2563) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีและการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. 2563. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2564, จาก http://regist.pn.psu.ac.th/documents/rule/regulation_63.pdf

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, ทรงธรรม ธีระกุล, เสาวนีย์ แสงสีดา และศศิธร ดีใหญ่. (2555). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้า ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. รายงานการวิจัยสถาบัน หน่วยวิจัยสถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมคิด รักษาทรัพย์, สุภาภรณ์ ตันจ้อย และวาสนา ด้วงเหมือน. (2556). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยทุนสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ งบประมาณงบเงินรายได้ปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สุกัญญา ทารส และทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2563). ปัจจัยจำแนกการออกกลางคันของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(1), 273 – 287.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558). การศึกษาสาเหตุการลาออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. Journal of Logistics and Supply Chain College, 1(1), 67 – 79.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ และพรพรรณ เชยจิตร. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94 – 113.

Chelms, T. (2020). How universities can support students’ mental health amid Covid-19 crisis. Time Higher Education. Retrieved from https://www.timeshighereducation.com/blog/how-universities-can-support-students-mental-health-amid-covid-19-crisis.

Cronbach, L.J. (1970). Essential of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Gyeltshen, L., & Sawangmek, T. (2016). The factors of parent and family involvement affecting student academic performance in Urban Primary Schools of Bhutan. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 254 – 263.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22, 1 – 55.