การพัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ปรียาภรณ์ ศิริวงศ์โยธิน
สิรินาถ จงกลกลาง
นาตยา ปิลันธนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มุ่งแสวงหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนรู้อิงสมรรถนะ
มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยการศึกษาขอบข่ายคลังสมรรถนะด้านความเป็นพลเมืองดี และพัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการสอนสังคมศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และการนิเทศการสอนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้านความสอดคล้องเหมาะสม และความเป็นไปได้ของคลังสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ขอบข่ายของคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 สาระ

16 ประเด็น และ 40 งาน 


  1. คลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี ประกอบด้วย แนวทางการนำคลังสมรรถนะไปใช้ และ คลังงานสาระที่ 1-5

โดยแต่ละงาน ประกอบด้วย สาระ งาน  ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทักษะ ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน   พฤติกรรม บุคลิก และลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงาน และ สถานการณ์การสอน และ โดยภาพรวมพบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสม และเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ:  สมรรถนะ คลังสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้อิงสมรรถนะ การวัดและประเมินผลอิงสมรรถนะ พลเมืองดี  

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

ปรียาภรณ์ ศิริวงศ์โยธิน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มุ่งแสวงหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนรู้อิงสมรรถนะ
มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยการศึกษาขอบข่ายคลังสมรรถนะด้านความเป็นพลเมืองดี และพัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการสอนสังคมศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และการนิเทศการสอนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้านความสอดคล้องเหมาะสม และความเป็นไปได้ของคลังสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ขอบข่ายของคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 สาระ

16 ประเด็น และ 40 งาน 

  1. คลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดี ประกอบด้วย แนวทางการนำคลังสมรรถนะไปใช้ และ คลังงานสาระที่ 1-5

โดยแต่ละงาน ประกอบด้วย สาระ งาน  ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทักษะ ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน   พฤติกรรม บุคลิก และลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงาน และ สถานการณ์การสอน และ โดยภาพรวมพบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสม และเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน. (2557). ความรับผิดชอบต่อตนเอง. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2563, จาก http://morality.orgfree.com/relate-life.html

ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา. (2560). คุณธรรม จริยธรรมการเป็นพลเมืองดี. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://sites.google.com/site/janisataprombut/1-sangkhm- thiy/08-khunthrrm-criythrrm-kar-pen-phlmeuxng-di

ชนธี ชำนาญกิจ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยนิตย์ พรรณาวร และ รุจิร์ ภู่สาระ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรการเป็นพลเมืองดีสำหรับเยาวชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 97-104.

ดรุณี จําปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 121-135.

ทวิกา ตั้งประภา. (2556). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน: กรณีศึกษา การยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อ. พัฒนา “สมรรถนะและผลลัพธ์ ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21” ของประเทศสิงคโปร์. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 213-227.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภคมน วงศ์ใหญ่. (2560). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จะเป็นของผู้บริหารระดับกลางในธุรกิจโรงแรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รวลักษณ์ สงวนแก้ว. (2559). Digital citizens : พลเมืองดิจิทัล. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2563, https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-59(500)/page2-1-59(500).html

วรุตม์ อินทฤทธิ์. (2562). สังคมศึกษาและการสร้างความเป็นพลเมืองดีภายใต้ระบอบการเมือง การปกครองไทย. สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่

วินิจ ผาเจริญ. (2561). คุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2563, จาก http://ojs.mcu.ac.th/index.php/lampang/article/viewFile/4688/3421

วีระยุทธ ก้อนกั้น (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิ สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สุจิตรา ปทุมลังการ์. (2552). ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะและการประเมินผล. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัด. กระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563, http://www.bps.moe.go.th/research/fulltext/Citizen.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือประเมินสมรรถนะผู้เรียนระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2557). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Kennedy, P. W., & Dresser, S. G. (2005). Creating a competency – based workplace, benefits compensation digest. brookfield: Feb.

Lucia, A. D., & Lepsinger, R. (1999). Art and science of competency models. Jossey-bass, Francisco.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. The American psychologist, 28(1), 1.

Westheimer, & Kahne. (2004). What kind of citizen? The politics of educating for democracy. American educating research journal, 41(2), 237 - 269.

Wright, L. (2001). HR competencies: getting them right. Canadian HR reporter. 14(19), 20.

Wright, L. (2001). HR competencies : getting them right. Canadian HR reporter. Toronto: Nov 5.