การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยโมเดล (Model Research) ของ (Richey & Klein. 2007) ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล (Model Development) ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Document analysis) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อ ด้านการออกแบบโมเดล จำนวนด้านละ 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมิน จำนวน 3 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหินลาดวังตอ ที่เรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ปีการศึกษา 2/2563 จำนวน 44 คน ผู้ออกแบบ จำนวน 1 คน ผู้พัฒนา จำนวน 1 คน ผู้สอน จำนวน 1 คน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาฯ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งความรู้ 3) เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ศูนย์ส่งเสริมการแก้ปัญหา 6) ฐานการช่วยเหลือ และ 7) ห้องให้คำแนะนำ และได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของโมเดลฯ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย ด้านการออกแบบ และด้านการวัดและประเมิน พบว่า ในด้านเนื้อเรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ มีความถูกต้องและเหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านสื่อบนเครือข่าย มีการออกแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็ว มีการออกแบบเครื่องหมายนำทาง มีการเชื่อมโยง (Link) ไปยังสารสนเทศ ต่างๆเอื้อต่อการค้นคว้า และด้านการออกแบบ มีองค์ประกอบสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีที่นำมาออกแบบ และมีความเหมาะสมในการส่งเสริมการสร้างความรู้และส่งเสริมการแก้ปัญหา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุณี ซามาตย์. (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสกสรรค์ แย้มพินิจ. (2554). การพัฒนาโมเดลการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการแก้ปัญหาที่มี
โครงสร้างซับซ้อนของนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุชาติ วัฒนชัย. (2553). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลีชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา . คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อิศรา ก้านจักร. (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมเมนทอลโมเดลแบบผู้เชี่ยวชาญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Educational Researcher, 18(1), 32–42.
Chaijaroen, S. (2014). Kānʻō̜kbǣp kānsō̜n: Lakkān thritsadī sū kān patibat [Instructional design: Principles and theories to practices]. Khon Kaen: Anna offset.
Hannafin, M. J. (1999). Open learning environments: Foundations, methods, and models. In Charles M. Reigeluth (Ed). Instructional design theories and models: A new paradigm of instructional theory: Volume II. London: Lowrence Erbaum Associate.
Jonassen, D.H. (1997). Instructional design model for well-structured and ill-structured problem-solving learning outcomes. Educational Technology. Research and Development, 45 (1), 65-95.
Mayer, R. E. (2009). Multimedia learning: Are we asking the right questions. Educational Psychologist, 32, 1-19
Richey, R. C. and Klein, J. (2007). Design and developmental research. New Jersey: Lawrence.