ผลของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนิสิตสาขาการส่งเสริมสุขภาพ

Main Article Content

ปะการัง ศรีมี
อภิสรา โสมทัศน์
สุนิสา ไกรนรา
ณัฐพร พงษ์อาราม
พิมพ์ยาดา พิมพะสาลี
ยศพงษ์ จารุจันทร์
รัตน์ติพร โกสุวินทร์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันสื่อวีดิทัศน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการส่งเสริมสุขภาพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 26 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการป้องกันและควบคุมโรค โดยใช้ ADDIE Model เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนสำหรับการผลิตสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ 3) แบบฝึกหัดเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพ 4) แบบประเมินความความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบค่าที (Paired t-test) และสถิติ McNemar’s test ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติภายหลังเข้าร่วมโครงการ (p<0.05) ระดับคะแนนด้านการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี และคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมากที่สุด สื่อวิดิทัศน์นี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ดาวรถา วีระพันธ์ และณัฐรดี อนุพงค์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติเรื่อง อยู่อย่างพอเพียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 61-72.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร, 28(1), 87-94.

วิภาวดี นวลพัดและสมปัต ตัญตรัยรัตน์. (2556). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 2 ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพุทธิพิสัยของบลูม. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(3), 204-211.

วรรณา สนองเดช (2561) การพัฒนาสื่อและผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับโจทย์สถานการณ์ต่อความรู้และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 26(1), 94-107.

ศิริลักษณ์ คลองข่อย. (2555). การพัฒนานิทานการ์ตูนเอนิเมชัน เรื่องอยู่อย่างพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและการสื่อสาร) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สงกรานต์ ลาพิมล. (2560). การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวชนเผ่าลาหู่ ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

โสภา รักษาธรรม, พัชรี วัฒนชัย และ จารุวัส หนูทอง. (2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 185-198.

อดิสร พึ่งศรี. พัฒนาบทเรียนวีดิิทัศน์ออนไลน์ วิชาถ่ายภาพ เรื่อง Advance Flash Photography. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_08_26_12_40_06.pdf

อรพรรณ จุตตะโน. (2562). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารของ ร้านอาหารใน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Anderson, L.W., & Krathwohl, D.R. (2001). A taxonomy for Learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Bloom, et al. (1956). The Function of Executive. London: Oxford University Press.

More Valencia, R. A., Nizama Reyes, M. E., Lizana Puelles, E. Y., & Sandoval Valdiviezo, J. M. (2023). Effectiveness associated with learning with video and multimedia content in engineering students’ classroom sessions. Journal of Higher Education Theory and Practice, 23(19), 271-284.

Rao BJ. (2019. Innovative Teaching Pedagogy in Nursing Education. International Journal of Nursing Education, 11(4), 176–180.

Song, X., & Sabran, M. K. (2024). The use of image resources in the improvement of the university teaching teaching based on the ADDIE model. Applied Mathematics And NonlinearSciences, 9(1), 1-14.