การจัดการเรียนรู้แบบสอดแทรกผนวกกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้กรอบแนวคิดสะเต็มเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเนื้อหาเรื่อง กรด-เบส
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสอดแทรก (Infusion) ผนวกกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้กรอบแนวคิดสะเต็ม (STEM-PBL) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเนื้อหาเรื่องกรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เก็บข้อมูลจากแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ บันทึกหลังการสอน อนุทิน และใบกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่าการคิดอย่างมีวิจารณญาณพัฒนาขึ้นในทุกองค์ประกอบและแต่ละองค์ประกอบมีระดับคะแนนเพิ่มเป็นระดับสูง ยกเว้นองค์ประกอบการประเมินที่คะแนนหลังเรียนอยู่ในระดับกลาง ในด้านแนวทางการสอนควรมีลักษณะดังนี้ คือ 1. ใช้สถานการณ์ที่ซับซ้อนแต่มีขอบเขตและข้อจำกัดและรัดกุมร่วมกับให้นักเรียนวางแผนก่อนลงมือทำเพื่อพัฒนาการวิเคราะห์และการสรุปอ้างอิง 2. การนำเสนอผลงานผ่านการเวียนฐานร่วมกับการให้ข้อเสนอแนะระหว่างผู้นำเสนอและผู้รับฟังทุกรอบเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประเมินและการตัดสินอย่างใคร่ครวญ 3. การจัดการเรียนรู้แบบสอดแทรกผ่านการใช้ตัวอย่างคำถามและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถช่วยพัฒนาการคิดในภาพรวมได้ดี ในตอนท้ายผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบชัดแจ้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์รวมถึงและการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและสะเต็ม
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธวัช ยะสุคำ และ ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 23-33.
พงศธร ปัญญานุกิจ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 6 ขั้น ตามแนวสะเต็มศึกษาในหัวข้อเรื่องเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภูธร สุคันธวณิช และ มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 188-199.
สะเต็มศึกษา ประเทศไทย. (2557). รู้จักสะเต็ม. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564, จาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
Abrami, P. C., Bernard, R. M., Borokhovski, E., Waddington, D. I., Wade, C. A., & Persson, T. (2015). Strategies for teaching students to think critically: A meta-analysis. Review of Educational Research, 85(2), 275–314.
Bybee, R. W. (2010). What is STEM education? Science, 329(5995), 996.
Che, F. S. (2002). Teaching critical thinking skills in a Hong Kong secondary school. Asia Pacific Education Review, 3(1), 83–91.
Duit, R., Treagust, D., & Widodo, A. (2008). Teaching science for conceptual change: Theory and practice. International Handbook of Research on Conceptual Change, 629-646.
Duran, M., & Sendag, S. (2012). A preliminary investigation into critical thinking skills of urban high school students: Role of an IT/STEM program. Creative Education, 3(02), 241–250.
Dwyer, C. P., Hogan, M. J., & Stewart, I. (2014). An integrated critical thinking framework for the 21st century. Thinking Skills and Creativity, 12, 43–52.
Ennis, R. H. (1989). Critical thinking and subject specificity: Clarification and needed research. Educational Researcher, 18(3), 4–10.
Ernst, J., & Monroe, M. (2006). The effects of environment-based education on students’ critical thinking skills and disposition toward critical thinking. Environmental Education Research, 12(3–4), 429–443.
Kemmis, R., & McTaggart, S. (Eds.). (1988). The action research planner. (3rd ed.). UNSW Press.
Mutakinati, L., Anwari, I., & Kumano, Y. (2018). Analysis of students’ critical thinking skill of middle school through STEM education Project-Based Learning. Jurnal Pendidikan IPA Indonesia, 7(1), 54–65.
Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st Century Learning. Retrieved June 16, 2021, from https://www.battelleforkids.org/networks/p21
Tiruneh, D. T., De Cock, M., & Elen, J. (2018). Designing learning environments for critical thinking: Examining effective instructional approaches. International Journal of Science and Mathematics Education, 16(6), 1065–1089.
Tiwari, A., Lai, P., So, M., & Yuen, K. (2006). A comparison of the effects of problem-based learning and lecturing on the development of students’ critical thinking. Medical Education, 40(6), 547–554.
Wang, H.-H., Chen, H.-T., Lin, H.-S., Huang, Y.-N., & Hong, Z.-R. (2017). Longitudinal study of a cooperation-driven, socio-scientific issue intervention on promoting students’ critical thinking and self-regulation in learning science. International Journal of Science Education, 39(15), 2002–2026.
Wood, D. F. (2008). Problem based learning. BMJ, 336(7651), 971.
Zohar, A., Weinberger, Y., & Tamir, P. (1994). The effect of the biology critical thinking project on the development of critical thinking. Journal of Research in Science Teaching, 31(2), 183–196.