การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์

Main Article Content

เจษฎ์บดินทร์ จิตต์โศภิตานนท์
สุมาลี ชัยเจริญ
พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ รูปแบบการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้คือ การวิจัยโมเดล (Model Research) ในระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล (Model development) ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Document analysis) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อ ด้านการออกแบบโมเดล จำนวนด้านละ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมิน จำนวน 3 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาระบบฐานข้อมูล ในปีการศึกษา 2/2563 จำนวน 117 คน ผู้ออกแบบ จำนวน 1 คน ผู้พัฒนา จำนวน 1 คน ผู้สอน จำนวน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ฯ ได้แก่ การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ การสังเคราะห์องค์ประกอบของโมเดล ทำการออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ฯ        ที่สังเคราะห์ตามการสังเคราะห์องค์ประกอบของโมเดล  ได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) แหล่งการเรียนรู้ (3) ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (4) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา (5) ศูนย์ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ (6) ศูนย์ความช่วยเหลือ (7) ศูนย์ให้คำแนะนำ และผลประเมินคุณภาพของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ฯ พบว่า มีการออกแบบที่เหมาะสมทั้ง 3 ด้าน โดยในด้านเนื้อเรื่องการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล มีความถูกต้องและเหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านสื่อบนเครือข่าย มีการออกแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็ว มีการออกแบบเครื่องหมายนำทาง มีการเชื่อมโยง (Link) ไปยังสารสนเทศต่างๆเอื้อต่อการค้นคว้า และด้านการออกแบบ มีองค์ประกอบสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีที่นำมาออกแบบ และมีความเหมาะสมในการส่งเสริมการสร้างความรู้และส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จารุณี ซามาตย์. (2559). การออกแบบและพัฒนาห้องเรียนกลับทางตามแนวคอนตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ รายวิชา หลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 56-59.

ดวงจันทร์ วรคามิน และคณะ. (2559). รายงานวิจัย.การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2546). เอกสารประกอบวิชา เทคโนโลยีร่วมสมัย. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: เพ็ญปริ้นติ้ง.

อรพรรณ์ แก้วกันหา จุฑามาส ศรีจำนงค์ และจุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านน้้าคิว สังกัดส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19, 289-304.

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated Cognition and the Culture of Learning. Educational researcher, 18(1), 32-42.

Chaijaroen, S., Kanjug, I., & Samat, C. (2019). Learner’s Creative Thinking Learning with Constructivist Web-Based Learning Environment Model: Integration Between Pedagogy and Neuroscience. In: Rønningsbakk, L., Wu, TT., Sandnes, F., & Huang, YM. (eds). Innovative Technologies and Learning. ICITL 2019. Lecture Notes in Computer Science, 11937. Springer, Cham.

Florida, R., & Mellander, C. (2015). The Global Creativity Index 2015. Toronto Martin: Prosperity Institute.

Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Hannafin, M. J., Land, S. M., & Oliver, K. (1999). Open Learning Environments: Foundations, Methods, and Models. In C. Reigeluth (Ed.), Instructional design theories and models. (Vol. II). Mahwah, NJ: Erlbaum.

Klausmeier, H. J. (1985). Educational Psychology. (5th ed.). Harper & Row, New York.

Mayer, R. E. (1999). Designing Instruction for Constructivist Learning. In C. M. Reigeluth (Ed.), Instructional Design Theories and Models: A New Paradigm of Instructional Theory. (pp. 141-159). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Piaget J. (1977). The Development of Thought: Equilibration of Cognitive Structures. New York: The Viking Press.

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and Developmental Research. New Jersey: Lawrence.

Sweller, J. (1994). Cognitive Load Theory, Learning Difficulty, and Instructional Design. Learn. Instr. 4, 295–312.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills Learning for Life in Our Times. Francisco: Jossey-Bass.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.

World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020 | World Economic Forum. Research Report, (October), 1163.