การประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระหว่าง ระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด (MOOC) ของไทยและต่างประเทศด้วย ดัชนีความสอดคล้องของพอร์เตอร์

Main Article Content

ภัทรพร พูลสวัสดิ์
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ วีธีการสอนและวิธีการประเมิน ระหว่างรายวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดของไทยและต่างประเทศ (2) เพื่อประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกัน ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการสอนและวิธีการประเมิน ในรายวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระหว่างระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดของไทย (Thai MOOC และ Chula MOOC) และต่างประเทศ (Coursera) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการสอน และวิธีการประเมินของรายวิชาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยและต่างประเทศในระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด จำนวน 89 รายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการสอน และวิธีการประเมิน วิเคราะห์หาความสอดคล้องด้วยวิธีของพอร์เตอร์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการสอนและวิธีการประเมินของรายวิชาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยและต่างประเทศในระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด มีทั้งจุดที่เหมือนและแตกต่างกัน โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเข้าใจ วิธีการสอนส่วนใหญ่ ได้แก่ การดูวีดิโอ การใช้เอกสาร การทำแบบฝึกหัด และการอภิปราย วิธีการประเมินมีความแตกต่างกันโดย Coursera มีวิธีการประเมิน 3 วิธี ได้แก่ การทดสอบ การประเมินโดยเพื่อนและการประเมินทั้งการทดสอบและการประเมินโดยเพื่อน ในขณะที่ Thai MOOC และ Chula MOOC จะใช้การทดสอบและการสอบปลายภาคเป็นหลัก 2) ความสอดคล้องในแนวเดียวกัน ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการสอนและวิธีการประเมิน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.110 ถึง 0.630 ซึ่งถือว่ามีค่าอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ. (2560). ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมิน ระดับชาติกับข้อสอบใน การประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาการวัดและ ประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.

บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, และสังวรณ์ งัดกระโทก. (2563). ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความ สอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), เมษายน-มิถุนายน.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สังวรณ์ งัดกระโทก. (2561). การวัดและการประเมินผลสำหรับการจัดการศึกษาอิงมาตรฐาน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Wittrock, M. C. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives (Complete ed.). New York: Longman.

Porter, A. C. (2002). Measuring the content of instruction: Uses in research and practice. Educational Researcher, 31(7), 3-14

Porter, A. C.& Smithson, J. L. (2001). Defining, developing, and using curriculum indicators. CPRE research report series RR-048. Retrieved from Philadelphia, PA: University of Pennsylvania Graduate School of Education.

Webb, N. L. (1997). Criteria for Alignment of Expectations and Assessments in Mathematics and Science Education. (Research Monograph No. 8). Washington, DC: Council of Chief State School Officers.