ผลของการจัดโปรแกรมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านหลักสูตรและการสอนของ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล

Main Article Content

วาสนา กีรติจำเริญ
สิรินาถ จงกลกลาง
สายสุนีย์ เติมสินสุข
อดิศร เนาวนนท์
สิริรัตน์ นาคิน
อิสรา พลนงค์
สุภาวดี วิสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะ           ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้  และ 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 46 คน และอาจารย์ผู้สอน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรในภาพรวมของบัณฑิต มีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนนักศึกษาที่กำลังศึกษามีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับอาจารย์ผู้สอน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นสูงที่สุดในด้านกระบวนการ  และ 2) ความคิดเห็นนักศึกษาได้เสนอแนะว่าหลักสูตรนี้ควรทำการปรับปรุงในด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบโดยใช้รูปแบบ CIPP Model. คู่มือการประเมินหลักสูตรระดับบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วารสาร E–Veridian, Silpakorn University, 10(2), 1198 – 1216.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การสำรวจความคิดเห็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตที่มีต่อการนำความรู้ ไปใช้ในการทำงานและการพัฒนาตนเองหลังสำเร็จการศึกษา. วารสารวิจัยรามคำแหง, 10(1), 37-49.

วาสนา กีรติจำเริญ. (2563). เอกสารคำสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิสูตร โพธิ์เงิน และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร E–Veridian, Silpakorn University, 10(3), 1180-1196.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อดิศร เนาวนนท์ และคณะ. (2562). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรและการสอนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่หลากหลายในศตวรรษที่ 21. 4 มีนาคม 2562, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. NICCI073, น.1-3

Frye, A.W. and Hemmer, P.A. (2012). Program Evaluation Models and Related Theories: AMEE Guide NO 67. Medical Teacher, 34, e288-e289.

Stuffelbeam, D. L., et al. (1971). Education Evaluation and Decision Making. ltasca, Illinois: Peacock Publisher.