การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาเคมี เรื่องแก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน

Main Article Content

สุกัญญา กึ่งกลาง
มังกร ศรีสะอาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่องสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาด้วยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 24 คน จากการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยนี้ดำเนินการทั้งสิ้น 3 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง สมบัติของแก๊ส 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง สมบัติของแก๊ส 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยในวงรอบที่ 1 พบว่า มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 5 คน ในวงรอบที่ 2 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 15 คน และวงรอบที่ 3 นักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 24 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน(พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้อมศรี เคท. (2537). เรื่องน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พัทธมน วิริยะธรรม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 140-152.

พาสนา จุลรัตน์. (2556). เมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 1(14), 1-17.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ภพ เลาหไพบูรณ์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วราภรณ์ เกลี้ยงกล่น. (2557). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น, 8(3), 189–196.

ศิรินภา นามโน. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสรรสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาข้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุนีย์ เหมาะประสิทธิ์. (2534). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(2), 62-73.

สุวร กาญจนมยูร. (2533). เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิทย์ คำมูล, และอรทัย คำมูล. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เสฏฐวุฒิ มุลอามาตย์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์โดยใช้ชุดการเรียนตามแนวอริยสัจ 4(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

หน่วยศึกษานิเทศน์. (2545). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อัจฉริยา สีหามาตย์. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชันในการ แก้โจทย์ปัญหา เรื่อง อสมการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(1), 116–123.

อุษา ชมภูพฤกษ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้ากระแส ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Beyer, B. K. (1997). Improving student thinking : a comprehensive approach. Boston: Allyn and Bacon.

Brueckner, L.T., & Grossnickle, F. E. (1974). How to make arithmetic meaningful. Philadelphia: John C. Washington.

De Jong T., & Ferguson-Hessler. (1996). Types and qualities of knowledge. Journal of Educational Psychologist, 31(2), 133–136.

Docktor, J. L., Dornfeld, J., Frodermann, E., Heller, K., Hsu, L., Jackson, K. A., … Yang, J. (2016). Assessing student written problem solutions: a problem-solving rubric with application to introductory physics. Physical Review Physics Education Research, 12(1), 15–26.

Ertmer, P., & Newby, T. J. (1996). The expert learner: stratic, self-regulated and reflective. Instructional Science, 24, 1–24.

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring. American Phycholohist, 34(10), 906–911.

Gabeel, D. (1999). Improving teaching and learning through chemistry education research: a look to the future. Journal of Chemical Education, 74(4), 548–553.

Osborne, J., & Collins, S. (2000). Pupils’ and parents’ views of the school science curriculum. London: King’s College London.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed). Victoria: Deakin University.

Krulik, S., & Rudnick, J. A. (1989). Problem solving: a handbook for senior high school teachers. Boston: Allyn and Bacon.