ผลของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่เน้นการเรียนรู้แบบมีความหมายเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงความรู้และการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา

Main Article Content

นิติพงศ์ ไกรยวงศ์
อิศรา ก้านจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัล การถ่ายโยงความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่เน้นการเรียนรู้แบบมีความหมายเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงความรู้และการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษากับการเรียนรู้ด้วยวิธีปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งการทดลอง (Quasi – Experimental Research) โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองจำนวน 20 คนให้เรียนด้วยด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คนให้เรียนด้วยวิธีการปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า การรู้ดิจิทัล การถ่ายโยงความรู้ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯสูงกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีปกติและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ข้อค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่เน้นการเรียนรู้แบบมีความหมายที่พัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพในการยกระดับสมรรถนะของผู้เรียนอาชีวะให้ตอบสนองบริบทของการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ที่เน้นการใช้ความรู้สู่การทำงานในบริบทใหม่ที่ไม่ใช่เพียงแค่การจดจำหรือการฝึกหัดทำซ้ำๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2560). อาชีวศึกษากับประเทศไทย 4.0. วารสารอาชีวะก้าวไกล, 3(2), 8-9.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2561 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: แผนกวิชาการพิมพ์ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี

สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

อิศรา ก้านจักร. (2559). พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Cavallo, A. M. L. (1996). Meaningful Learning, Reasoning Ability, and Students’ Understanding and Problem Solving of Topics in Genetics. Journal of research in science teaching, 33(6), 625-656.

Gentner, D., Holyoak, K., & Kokinov, B. (2001). The Analogical Mind: Perspectives from Cognitive Science. Cambridge, MA: MIT Press.

Hobbs, R. (2011). Digital and media literacy: A plan of action (knight commission on the information needs of communities in a democracy). Washington, D.C.: Aspen Institute & Knight Foundation.

Jones, V., & Jo, J. H. (2004). Ubiquitous learning environment: An adaptive teaching system using ubiquitous technology. Proceedings of the 21st ASCILITE Conference. 468-474.

Lee, H., Plass, J. L., & Homer, B. D. (2006). Optimizing cognitive load for learning from computer-based science simulations. Journal of Educational Psychology, 98(4), 902-913. doi:10.1037/0022-0663.98.4.902

Mayer, R. E., & Chandler, P. (2001). When learning is just a click away: Does simple user interaction foster deeper understanding of multimedia messages. Journal of Educational Psychology, 93(2), 390-397. doi:10.1037/0022- 0663.93.2.390.

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and development research. New Jersey: Lawrence

Wikipedia. (2017). Knowledge Transfer. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2560, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/ Knowledge_transfer.