การออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายแบบโครงงานเป็นฐาน ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณในรายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาซี

Main Article Content

วิลาณี อำนาจเจริญ
พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนต้องจัดทำชิ้นงานในเรื่องที่สนใจ ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายแบบโครงงานเป็นฐานที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Richey and Klein type1, 2004) ซึ่งมี 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การออกแบบ ระยะที่ 2 การพัฒนา และระยะที่ 3 การประเมินผล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในระยะที่ 1 และ 2 ผลการวิจัย พบว่า กรอบแนวคิดการออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายแบบโครงงานเป็นฐานที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เรียนรู้ด้วยโครงงาน 2) เรียนรู้เพิ่มเติม 3) แหล่งเรียนรู้ 4) ประชุมออนไลน์ 5) พบผู้เชี่ยวชาญ โดยในองค์ประกอบการเรียนรู้ด้วยโครงงานได้ผนวกการคิดเชิงคำนวณในภารกิจการเรียนรู้และพัฒนาตามกรอบการคิดเชิงคำนวณของ Angeli (2016) ซึ่งสามารถแบ่งขั้นตอนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) Abstraction 2) Generalization 3) Decomposition 4) Algorithm thinking และ 5) Debug และผลการประเมินบทเรียนบนเครือข่ายโดยผู้เชียวชาญ จากการวิจัยแสดงว่า คุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.58 และผลการทดลองใช้งานบทเรียนบนเครือข่ายกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน พบว่าบทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่นำไปใช้ในการทดลองระยะต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A6.

ชยการ คีรีรัตน์. (2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 31-47.

รัชนีบูรณ์ เนตรภักดี คัมภีรภาพ คงสำรวย อานันท กรมน้อย และเตือนใจ ผางคํา. (2563). ความปกติใหม่ 5 (New Normal) กับแนวทางการจัดการศึกษาในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 752-763.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795.

ภานุมาศ หมอสินธ์ ละอองดาว ทองดี อรรถพล หล้าสมบูรณ์ และคำพันธ์ อัครเนตร. (2559). การสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้ทฤษฏีสร้างสรรค์นิยมในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(2), 161-171.

ชมพู เนื่องจํานงค์ ภัทรยุทธ โสภา อัศวภรณ์ และอัจฉรา ธนีเพียร. (2563). กรอบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 623-640.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). มัลติมีเดียและหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สกุลรัตน์ จงสมชัย. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รหัสวิชา ง 31247 เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ TGT. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3), 79-91.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. (2542). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://supatatproject.blogspot.com/p/blog-page_185.html

ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2547). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Angeli, C., Voogt, J., Fluck, A., Webb, M., Cox, M., Malyn-Smith, J., & Zagami, J. (2016). A K-6 Computational Thinking Curriculum Framework: Implications for Teacher Knowledge. Educational Technology & Society, 19(3), 47–57.

Chareonrat, J. (2016). Analysis on factors affecting normal-grade student dismissal using decision tree. SNRU Journal of Science and Technology, 8(2), 256-267.

Jeannette, M. W. (2006). Computational Thinking. Communications of the acm, 49(3), 33-35.

Barr, V., & Stephenson, C. (2011). Bringing Computational Thinking to K-12: What is Involved and What is the Role of the Computer Science Education Community. ACM Transactions on Computational Logic, 111- 122. DOI:10.1145/1929887.1929905