การพัฒนาสื่อประสม (multimedia) เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศุภชัย มาลาศิลป์

บทคัดย่อ

บทความนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้  สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 33) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบหลังเรียนจากการเรียนโดยใช้สื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/1ปีการศึกษา 2562จำนวน 29 คนที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 โรงเรียน โนนหันวิทยายนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1)สื่อประสมเรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 11 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์จำนวน 20 ข้อผลการศึกษาพบว่า1) ประสิทธิภาพของสื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.98/81.79ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อประสม เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6972  หรือคิดเป็นร้อยละ 69.723) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังที่เรียนด้วยสื่อประสมเรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อประสมเรื่อง พัฒนาการของมนุษย์รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ : สื่อประสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ซินดิเคท.

กาญจนา พงษ์พันธุ์. (2556). การพัฒนาสื่อประสมเรื่องการเจริญพันธุ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรภิณท์ คำพงษ์พรรณ. (2557). การพัฒนาสื่อประสม เรื่องร่างกายของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กันยารัตน์ ดุษณีย์. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดสื่อประสม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2552). แนวการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

จุฬาภรณ์ พงษ์ศาสตร์. (2555). พัฒนาสื่อประสม เรื่องระบบร่างกายของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2550). กระบวนการสันนิเวทการและระบบสื่อการสอน. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2548). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนบนเครือข่าย. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2552). นวัตกรรมการศึกษา ชุด คู่มือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย.

โนนหันวิทยายน. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. ขอนแก่น: โรงเรียนโนนหันวิทยายน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

เยาวลักษณ์ เตียรณบรรจง. (2551). การพัฒนาชุดสื่อมัลติมีเดียประกอบการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วงศ์ศิลป์ ทองทวี. (2556). พัฒนาสื่อประสม เรื่องสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วชิระ อินทร์อุดม. (2550). การสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). การบริหาร : หลักการ ทฤษฏีและประเด็นทางการศึกษา และบทวิเคราะห์องค์การทางการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สายันต์ วิชัยโย. (2556). การพัฒนาสื่อประสม เรื่องระบบร่างกายของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แสงทอง ตุงคะสมิต. (2555). การศึกษาการใช้ชุดสื่อประสมประกอบการสอนเรื่องสิ่งเสพติด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อารียา การณ์พันธุ์. (2555). การพัฒนาชุดการสอนสื่อประสมเรื่องสิ่งเสพติด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Heinnich, et al. (1999). The Instructional Design Process. New York: Hyper & RowPublishers.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: Wiley.

Harold, M. A. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper & Row.

Tai. (2010). Dictionary of Education. New York: Mc Graw–Hill.