การออกแบบการปฏิบัติงานสอน เรื่อง โครงสร้างแบบจุดของลิวอิส โดยใช้โมเดลแม่เหล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
แบบจำลองหรือโมเดลเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายแนวคิดหลักการที่สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีกับความเป็นจริงได้เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจทฤษฎีหรือหลักการต่างๆได้มากขึ้นโดยเฉพาะการเรียนในวิชาเคมีที่นักเรียนจะต้องเรียนเนื้อหาที่มักจะเป็นนามธรรมและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องคิดค้นวิธีการที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เป็นนามธรรมนั้นให้ชัดเจนขึ้นการใช้โมเดลก็เป็นวิธีการทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนใช้เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนได้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครูผู้สอนใช้ตรวจสอบความรู้พื้นฐานและขยายผลไปสู่การเรียนในแนวคิดใหม่และช่วยตรวจสอบมโนมติวิทยาศาสตร์ที่คลาดเคลื่อนในขณะที่จัดการเรียนการสอนนำไปสู่การแก้ไขมโนมติให้ถูกต้องและทันการณ์บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการออกแบบการปฏิบัติงานสอนเรื่องโครงสร้างแบบจุดของลิวอิส โดยอาศัยโมเดลแม่เหล็กที่สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อนำทางในเขียนโครงสร้างแบบจุด ช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนจากเขียนลงบนกระดาษทั้งยังทำให้นักเรียนเข้าใจในหลักการและวิธีการเขียนโครงสร้างแบบจุดได้ง่ายขึ้นโดยวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างโมเดลนี้มีจำหน่ายทั่วไปหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพงมากนัก
Article Details
References
กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2557). แบบจำลองอะตอมโมเลกุลทางเลือกสำหรับการสอน เรื่อง ทฤษฎีแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5(2), 209–213.
ชาตรี ฝ่ายคำตา และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(3), 86–99.
ธณัฏฐา คงทน บุญนาค สุขุมเมฆ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแนวคิด เรื่อง เคมีอินทรีย์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 62–76.
พัศยา สันสน และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยกลวิธีจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 83–97.
Ahmad, W. Y., & Omar. S. (1992). Drawing Lewis Structure: A Step-by-Step Approach. Journal of Chemical Education, 69(10), 791–792.
Ahmad, W. Y., & Zakaria, M. B. (2000). Drawing Lewis Structure from Lewis Symbols: A Direct Electron Pairing Approach. Journal of Chemical Education, 77(3), 329–331.
Cooper, M. M., Grove, N., Uderwood, S. M., & Klykowsky, M. W. (2010). Lost in Lewis Structures: An Investigation of Student Difficulties in Developing Representational Competence. Journal of Chemical Education, 87(8), 869–874.
Duffy, P. L., Enneking, K. M., Gampp, T. W., Hakim, K. A., Coleman, A. F., Laforest, K. V., Paulson, E. T., Shepard, J. D., Tiettmeyer, J. M., Mazzarone, K. M., & Grove, N. P. (2019). Form versus Function: A Comparison of Lewis Structure Drawing Tools and the Extraneous Cognitive Lode They Induce. Journal of Chemical Education, 96, 238–247.
Kamkhou, P., & Yuenyong, C. (2019). Magnet and Pin kit: connection symbolic and submicroscopic representations of Lewis dot structure and molecular geometry. Journal of Physics: Conference Series, 1340, 012070 (1–7).
Kimball, D. B. (2012). Adaptive Instructional Aids for Teaching a Blind Student in a Nonmajors College Chemistry Course. Journal of Chemical Education, 89, 1395–1399.
Kiste, A. L., Hooper, R. G., Scott, G. E., & Bush, S. D. (2016). Atomic Tiles: Manipulative Resources for Exploring Bonding and Molecular Structure. Journal of Chemical Education, 93, 1900–1903.
Nassiff, P., & Czerwinski W. A. (2015). Teaching Beginning Chemistry Students Simple Lewis Dot Structures. Journal of Chemical Education, 92, 1409–1411.