การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้าง กระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิด และ 3) เปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงระบบก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนโนนหันวิทยายน จำนวน 33 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบประเมินพฤติกรรมกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) แบบวัดกระบวนการคิดเชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนำเสนอเป็น 6 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ ขั้นที่ 2 พัฒนาแนวทางการคิด ขั้นที่ 3 พิจารณาปัญหา ขั้นที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน ขั้นที่ 5 เรียนรู้ผลงานกลุ่ม ขั้นที่ 6 สรุปร่วมกัน 2) ระบบทางสังคม 3) หลักการตอบสนอง และ 4) ระบบที่นำมาสนับสนุน
- รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.63/ 15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/ 80
- กระบวนการคิดเชิงระบบของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดมีคะแนนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก.
ศราวุธ สุตะวงค์. (2560). สอนคิด SORNKID.เอกสารประกอบการฝึกอบรมครูสอนคิดตามแนวทาง Thinking School จาก นิวซีแลนด์ “สร้างครูมืออาชีพด้วยหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู” ครั้งที่ 3, เชียงราย, ศูนย์พัฒนาการสอนคิด โรงเรียน อบจ.เชียงราย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yang, L. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ Active Reading และหลักการเรียนรู้ แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
Ajose, S. A., & Joyner, V. G. (1990). Cooperative learning: The rebirth of an effective teachingstrategy. EducationalHorizons, 6(12), 197-201.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1994). Instructional goal structure: Cooperative, competitive, or individualistic. Review of Educational Research, 44, 213-240.
McMillan, J. H. (2001). Research in education: A conceptual introduction. New York: Longman.
Rogers, C. R. (1969). Freedom to learn. Columbus, Ohio: Charles E. Merrill Publishing Company.
Senge, P. (1993). The fifth discipline: The art &practice of the learning organization. London: Century Business.
Woolfolk, A. (2007). Educational psychology. 10thed. Boston: Pearson Education.