การพัฒนาตัวบ่งชี้และยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน พัฒนาตัวบ่งชี้ พัฒนายุทธศาสตร์ และตรวจสอบความเหมาะสมของตัวบ่งชี้และยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการตามหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างผู้บริหารและอาจารย์ 224 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดร่วมสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (2) การพัฒนาตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ด้านหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนตัวบ่งชี้มากที่สุด (3) การพัฒนายุทธศาสตร์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์คือ การจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา การวัดและประเมินผล การวิจัยและพัฒนา การบริการทางวิชาการ ชั้นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษา พันธกิจคือ การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยและพัฒนาและการบริการวิชาการ การพัฒนาคณาจารย์ การวัดและประเมินผล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดร่วมสมัย และการบริหารความเสี่ยง โดยมีวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1) การจัดทำหลักสูตรชั้นเลิศระดับชาติและนานาชาติ 2) การจัดการเรียนการสอนชั้นเลิศที่สร้างผู้เรียนให้เป็นไปตาม Expected Learning Outcome ของหลักสูตร 3) การนิเทศการศึกษาชั้นเลิศที่แก้โจทย์และปัญหาของประเทศได้แท้จริง 4) การวัดและประเมินผลชั้นเลิศที่แก้โจทย์และปัญหาของประเทศได้แท้จริง 5) การวิจัยและพัฒนาชั้นเลิศที่แก้โจทย์และปัญหาของประเทศได้แท้จริง 6) การบริการทางวิชาการชั้นเลิศที่แก้โจทย์และปัญหาของประเทศได้แท้จริง และยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การวิจัยและพัฒนาและการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) การพัฒนาคณาจารย์กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดร่วมสมัย 6) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารความเสี่ยง (4) ตัวบ่งชี้และยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการตามหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถาบันอุดมศึกษามีความเหมาะสม ซึ่งตัวบ่งชี้ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชิตาภรณ์ ทองชอุ่ม. (2551). การปฏิรูปหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตที่สอดรับกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทุติยรัตน์ รื่นเริง. (2552). การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา ทองสม. (2553). การพัฒนาดัชนี้ชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2518). หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สมศรี จินะวงษ์. (2544). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สหัทยา พลปัถพี. (2548). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อบุญ ที่พึ่ง. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.