การเปลี่ยนแปลงมิติภายในของพระสงฆ์กลุ่มอาสาคิลานธรรมภายหลังเข้าร่วมหลักสูตร การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและในระยะติดตามผลการปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยระยะท้าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงมิติภายในของพระสงฆ์ภายหลังการเข้าร่วมหลักสูตรการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและในระยะติดตามผลการปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ให้ข้อมูลหลักคือพระสงฆ์กลุ่มคิลานธรรมที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร 12 รูป และผู้ให้ข้อมูลประกอบ 16 คน คือ (1) ญาติผู้ป่วย 11 คน (2) ผู้สอนและผู้นำกลุ่ม 5 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจดบันทึก
ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลงมิติภายใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (2) ด้านทัศนะต่อโลกและชีวิต และ (3) ด้านสภาวะจิตใจที่เป็นกุศลและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก คือผู้สอนในฐานะกัลยาณมิตร กระบวนการสอนที่เอื้อให้ประสบตรงในหลักอริยสัจ 4 และการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ และปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการในผู้เรียนและต้นทุนการฝึกปฏิบัติในวิถีของพระสงฆ์ ในระยะติดตามผล ความเปลี่ยนแปลงมิติภายในมีความเข้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน และผลการปฏิบัติงานเยียวยาจิตใจของพระสงฆ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Article Details
References
คาเรน เค. เวเกลา. (2547). มิตรไมตรีไม่มีประมาณ: คู่มือให้การปรึกษาและจิตบำบัดแนวภาวนา (ดวงหทัย ชาติพุทธิกุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
จรินทิพย์ โคธีรานุรักษ์. (2551). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อความเอื้อเฟื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จอห์น แมคคอนแนล. (2552). คลายเครียดด้วยลมหายใจ: เยียวยาความเครียดด้วยวิถีพุทธ (สุรภี
ชูตระกูล, ผู้แปล). นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดลดาว ปูรณานนท์. (2551). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธแบบกลุ่มต่อการเพิ่มพูนสันติภาวะโดยมีเมตตาเป็นตัวแปรสื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธารีวรรณ เทียมเมฆ. (2551). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อความสันโดษของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณพนัช แซ่เจ็ง. (2555). ผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธด้วยการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นสื่อต่อปัญญาในสตรีผู้ผ่านการรักษามะเร็งเต้านม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2550). การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ. ใน ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย, อิศรางค์ นุชประยูร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, และ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ (บรรณาธิการ). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. (หน้า 255). ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
พีรเทพ รุ่งคุณากร. (2556). การพัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ของสตรีไทยที่ถูกกระทำความรุนแรงจากคู่ครอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
เพริศพรรณ แดนศิลป์. (2550). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโยนิโสมนสิการที่มีต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุวดี เมืองไทย. (2551). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยยาเสพติดที่อยู่ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุลีพร ปรมาภูติ. (2554). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลงในบุคคลภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร ประดับสมุทร. (2552). การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
โสรีช์ โพธิแก้ว. (6 พฤษภาคม 2547). สัมภาษณ์. ประธานหลักสูตรสาขาจิตวิทยาการปรึกษา. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Banet A. G. (Ed.). (1976). Creative psychotherapy: A source book. La Jolla, CA: University Associates.
Beaumont, S. M. (2011). Pastoral counseling down under: A survey of Australian clergy. Pastoral Psychology, 60, 117-131.
Kabat – Zinn, J. (2003). Mindfulness-based interventions in context: past, present, and future. Clinical Psychology: Science and Practice, 10, 144-145.
Metzner, R. (1980). Ten classical metaphors of self-transformation. Journal of Transpersonal Psychology, 12(1), 47-62.
Moran, M., Flannelly, K. J., Weaver, A. J., Overvold, J. A., Hess, W., & Wilson, J. C. (2005). A study of pastoral care, referral, and consultation practices among clergy in four settings in the New York City area. Pastoral Psychology, 53(3), 255-266.
Nissanka, H. S. S. (1993). Buddhist psychotherapy: An eastern therapeutical approach to mental problems. Delhi: Ram Printograph.
Olson, R. P. (Ed.) (2002). Religious theories of personality and psychotherapy: East meets West. NY: Haworth Press.
Rowan, J. (1983). The reality game: A guide to humanistic counselling and therapy. London: Routledge and Kegan Paul.
Walsh, R. & Shapiro, S. (2006). The meeting of meditative disciplines and western psychology: A mutually enriching dialogue. American Psychologist, 61(3), 1.
Welwood, J. (2000). Toward a psychology of awakening: Buddhism, psychotherapy, and the part of personal and spiritual transformation. Boston: Shambhala.
Wilber, K. (2000). Integral psychology: Consciousness, spirit, psychology, therapy. Boston: Shambhala.