การสร้างแบบทดสอบวัดสมรรถนะการอ่า การสร้างแบบทดสอบวัดสมรรถนะการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 โดยการหนุนเสริมจากภาคีเครือข่ายการเรียนรู้

Main Article Content

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล
ธนพร หมูคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการสร้างและการหาคุณภาพแบบทดสอบวัดสมรรถนะการอ่าน 3 ระดับ คือระดับ1 อ่านเอาเรื่อง ระดับ2 อ่านเชิงวิเคราะห์ และระดับ 3 อ่านเชิงวิพากษ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการหนุนเสริมจากภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยคณะวิจัยและภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ ได้แก่ คณะครู ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลประเมินผล ศึกษานิเทศก์ และครูต้นแบบ ร่วมกันสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบ สอบทาน   ความตรงเชิงเนื้อหาและเชิงโครงสร้าง กลุ่มทดลองใช้คือนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่4-6 จังหวัดลำปาง จำนวน 44 คนเลือกแบบเจาะจง เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพ ค่าดัชนีความยาก ค่าดัชนีอำนาจจำแนก และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบแอลฟาของครอนบาค กลุ่มเป้าหมายที่ใช้แบบทดสอบฉบับจริงที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว คือนักเรียนจำนวน 1,502 คน จากโรงเรียนในจังหวัดลำปาง 20 โรงที่เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเป็นข้อสอบแบบปรนัยแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มุ่งวัดสมรรถนะการอ่านเอาเรื่อง 17ข้อ อ่านเชิงวิเคราะห์17ข้อ และอ่านเชิงวิพากษ์ 16 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน คะแนนสมรรถนะการอ่านคือผลรวมของคะแนนทั้ง 3 ส่วน คะแนนที่ได้นำมาคิดเป็นคะแนนร้อยละ จัดระดับสมรรถนะการอ่านเป็น 4 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ และต้องปรับปรุงแก้ไข นำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีระดับความยากเท่ากับ0.494 หมายถึงมีความยากง่ายพอเหมาะ ค่าเฉลี่ยดัชนีอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.294 หมายถึงมีค่าอำนาจจำแนกที่ใช้ได้ คะแนนสมรรถนะการอ่านรวมทั้งฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.794 หมายถึงมีค่าความเชื่อมั่นสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ และ วศินี รุ่งเรือง. (2561). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 51-62.

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล จักรกฤษณ์ สำราญใจ บุปผา สมมะโน วิไลลักษณ์ จั่นวงษ์ และ ธนพร หมูคำ. (2555). การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้ จังหวัดลำปาง ภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่าย เชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน (Local Learning Enrichment Network: LLEN). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ทรงพร พนมวัน ณ อยุธยา และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2560). การพัฒนามาตรฐานสากลด้านการอ่าน. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(14), 113-125.

เบญจมาศ พุทธิมา. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนโดยใช้เทคนิคการเสริมพลังอำนาจ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 57-72.

พัชรินทร์ อารมณ์สาวะ. .(2557). การประเมินการรู้เรื่องการอ่านของ PISA 2019. นิตยสาร สสวท, 42(189).

วิรัช วรรณรัตน์. (2558). หลักและวิธีการสอบวัด. บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(2), 1-12.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, โครงการ PISA ประเทศไทย. (2552). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA การอ่าน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี.

สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย. (2552). การสัมมนานานาชาติเรื่องการรู้เรื่องการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อลิศรา เพชระ ไกรเดช ไกรสกุล และสืบพงศ์ ธรรมชาติ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 214-226.

อัมเรศ เนตาสิทธิ์ ปริญญภาษ สีทอง เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ และวิไลวรรณ กลิ่นถาวร. (2561). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(2), 221-230.

Program for International Student Assessment. (2003). The PISA 2003 assessment framework –mathematics. reading science and problem-solving knowledge and skills. Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development.