การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานการคิดไตร่ตรอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการกำกับการเรียนรู้ของตนเอง สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Main Article Content

สัจธรรม พรทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานการคิดไตร่ตรองสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2) พัฒนาความสามารถในการกำกับการเรียนรู้ของตนเองสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาดนตรีศึกษาที่เป็นสมาชิกวงหัสดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานการคิดไตร่ตรอง 2) แบบประเมินความสามารถในการกำกับการเรียนรู้ของตนเอง 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรม (E1/E2) ในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานการคิดไตร่ตรองที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ค่าเฉลี่ยที่ 3.77 – 4.16 อยู่ในระดับมาก เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวงรอบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่ามีค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรมเท่ากับ 75.02/97.53 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยสามารถสรุปขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดังนี้ (1) กำหนดเป้าหมายและประเมินบริบทที่เกี่ยวข้อง (2) วางแผนและพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม (3) ดำเนินงานและประเมินความก้าวหน้า (4) สรุปและประเมินผล (5) สะท้อนผลและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน และ 2) ความสามารถในการกำกับการเรียนรู้ของตนเองของนักศึกษาจากผลการประเมินในแผนการเรียนรู้สุดท้ายได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 2.77 สูงสุดอยู่ที่ 3 จากคะแนนเต็ม 3 แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีแนวโน้มในการพัฒนาความสามารถในการกำกับการเรียนรู้ของตนเองในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5 – 20.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สัจธรรม พรทวีกุล. (2556). รูปแบบการเรียนการสอนการคิดไตร่ตรองเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/dropbox/pdf.

ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์. (2555). ทักษะการคิดเป็นทางดนตรี. เอกสารประกอบการสอน. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Gencel, I., & Saracaloğlu, A. (2018). The Effect of Layered Curriculum on Reflective Thinking and on Self-Directed Learning Readiness of Prospective Teachers. Progressive Education, 14(1), 8 - 20.

Goodman, R. I., Fletcher, K. A., & Schneider, E. W. (1980). The Effectiveness Index as Comparative Measure in Media Product Evaluation. Education technology, 20(9), 30 - 34.

Hind, A.-J. (2014). Self- Directed Learners. Arab World English, 5(2), 122 - 133.

Joyce, B., & Weil, M. (2010). Models of Teaching. Eighth Edition. United States of America: Prenice Hall International.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. Third Edition. Geelong: Deakin University Press.

McNif, J., & Whitehead, J. (2002). Action Research Principles and Practice. 2nd Ed. London: Routledge.

Murray, H. (2015). Lifelong Learning in the Twenty-First Century: An Investigation of the Interrelationships Between Self-Directed Learning and Lifelong Learning. Dissertation of Doctor of Education With Specialization in Higher Education Union Institute and University Cincinnati, Ohio.

Mynard, J., & Stevenson, R. (2017). Promoting Learner Autonomy and Self-Directed Learning: The Evolution of a SALC Curriculum. Studies in Self-Access Learning, 8(2), 169 - 182.