การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Main Article Content

สุพรรณิการ์ ชนะนิล
หทัย น้อยสมบัติ
ปฐมพงศ์ ชนะนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ 2. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจและมีเครื่องมือการวัดและประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3. เพื่อพัฒนาผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 4. เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาที่ทำการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2561 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 1 คน ผู้ปกครอง จำนวน 36 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขั้นตอน/แนวคิดของนักการศึกษาและนักวิจัยจำนวน 15 ท่านและนำมาสู่การกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ปัญหาที่เจอ (Hello problems) ขั้นที่ 2 อยากให้เธอเข้าใจ (Aim to understand) ขั้นที่ 3 ให้นำไปวิเคราะห์ (Plan for Analyze) ขั้นที่ 4 สืบเสาะศึกษา (Try to study) ขั้นที่ 5 นำมากลั่นกรอง (Technically synthesis) ขั้นที่ 6 รับรองผลลัพธ์ (Accredit the result) ขั้นที่ 7 สะท้อนกลับเพื่อเรียนรู้ (Reflecting the outcomes) แล้วนำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 13 แผน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยดำเนินการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้จากกระบวนการ PLC ก่อนดำเนินการในแต่ละวงจร   

  2. 2. ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานคิดเป็นร้อยละ 100 ระดับดีเยี่ยม และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานคิดเป็นร้อยละ 80 ระดับดีเยี่ยม

  3. 3. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 52 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ 81.44 มีผลจากแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 1 เท่ากับร้อยละ 76.67 แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 2 เท่ากับร้อยละ 81.11 และแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 3 เท่ากับร้อยละ 86.53 ซึ่งเป็นค่าที่สูงขึ้นตามลำดับ โดยนักเรียนมีความพึงพอใจในด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ ด้านรูปแบบการเรียนการสอน ด้านความเข้าใจในเนื้อหา และด้านครูผู้สอนตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.62 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบบูรณาการ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุสุมา แสงมาศ. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการเรียนรู้ตามปกติ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(2), 3-15.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/isbn-9786163627179/

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ ไทซิ่ง กรู๊ฟ.

นภสร เรือนโรจน์รุ่ง. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานทอง กุลนาถศิริ. (2557). การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/snpinnrabawxin/home/nana-sara-kab-khnitsastr-1

พัชรพล เถาธรรมพิทักษ์. (2550). ผลของกิจกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วิชาการ, 5(2), 11-17.

ไมตรี อินประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

ยศวีร์ อิ่มอโนทัย. (2554). การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) ในรายวิชาการออกแบบการประเมินผล. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2562, จาก www.dusit.ac.th/~msportfolio/.../Final_งานวิจัยชั้นเรียน154.doc.

วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based Learning) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิสุทธิ์ ตรีเงิน. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในทักษะการคิดพื้นฐานด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และเทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุนีย์ คล้ายนิล ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). การวัดผลและประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกอนงค์ ศรีสำอาง, กุลธิดา ภูฆัง, และเมฐินีย์ นุ้ยสุด. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University.