การพัฒนาหลักสูตรการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

สมเกียรติ อินทสิงห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนาหลักสูตรการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็น คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 378 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินคุณภาพหลักสูตร คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยทดลองใช้หลักสูตรช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2561 งานวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา อิงขั้นตอนในรูปแบบ ADDIE เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการคิด แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบประเมินความสามารถในการคิด และแบบวัดเจตคติต่อการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนี PNImodified และค่าสถิติ t ผลการวิจัยพบว่า


1) ประเภทของการคิดที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนาเรียงลำดับตามดัชนี PNImodified จากมากไปน้อย 4 อันดับแรก คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์


2) หลักสูตรการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด 4 ประเภทตามผลการประเมินความต้องการจำเป็นและเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก มีทั้งหมด 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สาระการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ บทบาทผู้เรียนและผู้สอน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และหลักสูตรมีทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ โดยภาพรวมหลักสูตรมีคุณภาพเกี่ยวกับความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด


3) หลังจากใช้หลักสูตร นักศึกษามีความสามารถในการคิดทั้ง 4 ประเภทสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรุงปรุง. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). หลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป: หลักการและวิธีดำเนินการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). นักศึกษา. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, จาก https://www.cmu.ac.th/servicesinfo.php?mainmenu=20

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion_b58.PDF

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วิจารณ์ พาณิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์. (2560). ศาสตร์และศิลป์ของการสอน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.

สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการสอนมโนทัศน์และหลักการสอนคิดวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 2 (NACE 2016) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, หน้า 649-663.

สมเกียรติ อินทสิงห์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arends, R. I. (2016). Learning to Teach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education.

Becker, L., & Denicolo, P. (2013). Teaching in Higher Education. London: SAGE Publication Ltd.

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2001). The Systematic Design of Instruction. New York: HarperCollins.

Glynn, G. (2007). The Teaching with analogies model: Build conceptual bridges with mental models. Science and Children, 44(8), 52 - 55.

Graham, L., Berman, J., & Bellert, A. (2015). Sustainable Learning: Inclusive Practices for 21st Century Classroom. Port Melbourne: Cambridge University Press.

Hall, G. E., Quinn, L. F., & Gollnick, D. M. (2017). Introduction to Teaching: Making a Difference in Student Learning. Canada: SAGE Publication, Inc.

Harvard University. (2017). Program in General Education. Retrieved October 13, 2017, from https://generaleducation.fas.harvard.edu/

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.

Neerputh, S. (2016). Integrating Information Literacy in the General Education Module at the Durban University of Technology, South Africa. Mousaion, 34(1), 43 - 55.

Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the Curriculum. 8th ed. Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum Foundations, Principles and Issues. 7th ed. New Jersey: Englewood Cliffs.

Schrum, L., Niederhauser, D. S., & Strudler, N. (2016). Competencies, Challenges, and Changes: A US Perspective on Preparing Twenty-First Century Teacher and Leaders. In J. M. Spector, D. Ifentherler, D. G. Sampson, & P. Isaias (eds.). Competencies in Teaching, Learning and Educational Leadership in the Digital Age: Paper from CELDA 2014. (pp. 17-32). AG, Switzerland: Springer International Publishing.

The Partnership for 21st Century Learning. (2010). Framework for 21st Century Learning. Retrieved January 13, 2017, from http://www.p21.org/about-us/p21-framework

Van Dalen, D. B. (1979). Understanding Educational Research: An Introduction. 4th ed. New York: McGraw-Hill.