การบริหารเชิงนวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรเพื่อส่งเสริมให้ครูใช้สื่อดิจิทัล

Main Article Content

ตฤณ หงษ์ใส
อรทัย บุญเที่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารเชิงนวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) ศึกษาระดับการส่งเสริมของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดกำแพงเพชรที่ให้ครูใช้สื่อดิจิทัลฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 176 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการบริหารเชิงนวัตกรรม ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการส่งเสริมให้ครูใช้สื่อดิจิทัล แบบสอบถามมีวิธีการหาคุณภาพเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านพิจารณาโดยค่าเฉลี่ยจะต้องได้ 0.60 ขึ้นไปจึงจะถือว่าแบบสอบถามมีคุณภาพ และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลจากการวิจัยพบว่า


          1) การบริหารเชิงนวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.18, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีจริยธรรมและตรวจสอบได้อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก  (X̅ = 4.62, S.D. = 0.53) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.57, S.D. = 0.68) ส่วนด้านการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเป็นลำดับสุดท้าย (X̅ = 3.25, S.D. = 0.63)


          2) การส่งเสริมของผู้บริหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดกำแพงเพชรที่ให้ครูใช้สื่อดิจิทัลฯ  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X̅ = 4.08, S.D. = 0.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ครูใช้สื่อดิจิทัล ด้านการจัดกิจกรรมในหลักสูตร อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก (X̅ = 4.25, S.D. = 0.97) รองลงมา ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนางานวิชาการ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = 0.95) ส่วนด้านการพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเป็นลำดับสุดท้าย (X̅  = 3.88, S.D. = 0.90)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ดวงกมล กิ่งจำปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ถวิล เกษสุพรรณ์. (2552). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลเขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิสารัตน์ ฟุ้งขจร. (2560). การศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้โดยการนำตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2558). คุณธรรมของนักการเมือง : ศึกษาจากทัศนะของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิรัตน์ มะโนวัฒนา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาดา นันทะไชย. (2554). จริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรพริ้นติ้ง.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). พัฒนาทางวิชาชีพของครูที่มุ่งเน้นด้านภาวะผู้นำครูเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพอย่างมีประสิทธิผลและสร้างครูผู้นำการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 163-175.

Kemmis, S, & McTaggart, R. (1990). The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press.