การยกระดับเกษตรกรรายย่อยสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำในพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธัชกร ภัทรพันปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ยกระดับเกษตรกรรายย่อย, กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงเป็ดปากน้ำของเกษตรกรรายย่อย       สู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษาการยกระดับช่องทางการตลาดสำหรับการเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์และด้านการทำตลาดดิจิทัล และ3) เพื่อออกแบบระบบและกลไกพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบแบบผสมวิธีสู่การปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำ จำนวน 77 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาเชิงคุณภาพ จำนวน  60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามพบว่า 1) ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี มีรายได้      ในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 200,001- 400,000 บาท ประสบการณ์ในการเลี้ยงเป็ดไข่ 1-5 ปี เป็นทุนส่วนตัว โรงเลี้ยงเป็นรั้วตะแกรงหรือตาข่าย พื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่จำนวน 1-3 ไร่ จำนวนเป็ดไข่ที่เลี้ยงน้อยกว่า 60 ตัว ใช้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับอาหารผสมเอง ค่าใช้จ่ายหลักในการเลี้ยงเป็นเป็นค่าอาหารและแรงงาน ยังไม่เคยเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ปัญหาราคาไข่เป็ดไม่แน่นอน และผู้เลี้ยงเป็ดไข่มีความคิดเห็นต่อการค้าการขายเป็ดไข่เชิงพาณิชย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.26,= 0.69) 2) การยกระดับช่องทางการตลาดพบว่า พัฒนาการเลี้ยงเป็ดไข่ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ การมีแหล่งที่เอื้อต่อการเลี้ยงเป็ดไข่เชิงพาณิชย์ และการยกระดับการเลี้ยงเป็ดไข่ตลาดดิจิทัลพบว่า การมีสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเข้าสู่ตลาด การมีรูปแบบหรือวิธีสื่อสารใหม่ในการเข้าสู่ตลาดดิจิทัล และ3) ระบบและกลไกพัฒนาผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์พบว่า การมีพิมพ์เขียวการเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำเชิงธุรกิจ ได้แก่ หลักประกัน     ความมั่นคงของกลุ่มหรือสมาชิก และหลักประกันสุขภาพของกลุ่มหรือสมาชิก รวมทั้งการมีโมเดลยกระดับ  การเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำเชิงพาณิชย์ด้านตลาดดิจิทัล

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). นโยบายส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: กองแผนงานกรมส่งเสริมการเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

ขวัญชัย เนตรน้อย และพิพัฒน์ เพชรรัตน์. (2563). การเพิ่มมูลค่าการผลิตเป็ดไล่ทุ่งตลอดโซ่อุปทานในจังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานวิชาการ). กรุงเทพฯ: ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต7.

คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ. (2562). แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอัจฉริยะพ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธัชกร ภัทรพันปี. (2563). การพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานวิจัย) สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี.

นิพนธ์ พัวพงศกร กัมพล ปั้นตะกั่ว และณัฐธิดา วิวัฒน์วิชา. (2563). นโยบายเทคโนโลยีการเกษตร4.0 (Farming 4.0 Policy). รายงานแผนงานวิจัย.สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ปัณณวิชย์ แสงหล้า. (2561). กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาสกร ธรรมโชติ เจษฎา รัตนวุฒิ และอารีรัตน์ ทศดี. (2560). เศรษฐกิจการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงในเขตภาคใต้ตอนบน. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ.

มนันยา นันทสาร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่แรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัด มหาสารคาม. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

วณัฏฐศศิ นิลนรศรี. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่ในเขตอำเภอ โพธารามจังหวัดราชบุรี. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุกัญญา บำรัส จิตติมา ดำรงวัฒนะ อุดมศักดิ์ เดโชชัย และเดโช แขน้ำแก้ว. (2562). แนวทางการแก้ปัญหาจากการเลี้ยงเป็ดไข่เป็นอาชีพหลักกรณีศึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ. (2552). ทฤษฎีใหม่หลักการพึ่งตนเองที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

สำนักงานสถิติการเศรษฐกิจ. (2564). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ. สำนักงานสถิติเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเศรษฐกิจและสหกรณ์.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ. (2563). ฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้า จังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance). ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https:// www.chaipat.or.th /sitecontent/item/283- self-reliance.html.

Best, W. John. (1997). Research in Education. ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hell, Inc.

Smith, W. E. (2009). The creative power: transforming ourselves, our organization and, our world. New York: Taylor & Francis group.

World Bank. (2017). ICT in Agriculture: Connecting Smallholders to Knowledge,Networks, and Institutions. Washington, DC: World Bank.

World Food Programme (WFP). (2018). Virtual Farmers’ Market: A digital solution connecting farmers to markets. Factsheet.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-15