การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คำสำคัญ:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, การตลาดธุรกิจเชิงสร้างสรรค์, คณะดุริยางคศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจ
เชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ซึ่งผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ที่สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 400 ราย และข้อมูลเชิงคุณภาพได้รับจากการสัมภาษณ์กลุ่มเจ้าของสถานประกอบการหรือผู้บริหารในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิง และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิง จำนวน 4 ราย และผู้บริหารคณะดุริยางคศาสตร์ 4 รายจากผลการศึกษาทั้งในมิติของเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตร เนื่องจากความคิดเห็นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบันเทิงและผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 85 มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเล็งเห็นความพร้อมในการจัดการสอนในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และเสนอให้มีรายวิชาที่ควรมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบ่มเพาะนวัตกรรม กลยุทธ์การบริหารธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรมสุนทรียฤทธิ์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สัมมนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิทยาการวิจัยขั้นสูงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการศึกษาดูงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรม และสุนทรียฤทธิ์
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). รายงานประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564. จาก https://www.dbd.go.th/download/publicdevelop_file/annualreport/annualreport _ThEng61.pdf
กองดุริยางค์ สำนักสวัสดิการทหาร. (2564). แผนพัฒนาศักยภาพดนตรีกองบัญชาการกองทัพไทย เชิงนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กองบัญชาการกองทัพไทย
จิตติรัตน์แสงเลิศอุทัย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อสาขาวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา. 11 (52). น. 139-147
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ณััฏฐ์์ คงเสน และญาภัทร สีหะมงคล. (2566). ปัจจัยที่่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัต่ิธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 20 (3). น. 157-173
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จำกัด (มหาชน). (2562). บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2564.สืบคั้นเมื่อ 1 เมษายน 2564,จากhttps://grammyth.listedcompany.com/ar.htm
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2565). แผนยุทธศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) (ฉบับทบทวนปี 2565). นครสวรรค์:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ. (2561). รายงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) เรื่อง การจัดทำแผนงานวิจัยเชิงพื้นที่และงานสร้างสรรค์ทางดนตรีที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2557-2560. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Indeed Editorial Team. (2022). 11 Artist Marketing Tips To Help You Market Your Work. Retrived February 25, 2024, from https://www.indeed.com/career-advice/career-development/artist-marketing-tips
Suzie Sangren. (1999). Suzie Sangren. 1999. A Simple Solution to Nagging Questions About Survey. Sample Size and Validity. New York. Inc., Ithaca.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว