การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ด, เห็ดนางฟ้าภูฐาน, ชุมชนบ้านช้างบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้เพื่อ 1) การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) การติดตามผลการพัฒนาและ 3) เผยแพร่การพัฒนาดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรในชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความสมัครใจ จำนวน 30 คน พบว่า การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งในกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการนั้น มีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยการสนทนากลุ่ม รวมกลุ่ม และการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง สำหรับประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ผลการติดตามการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน พบว่า เกษตรกรในชุมชนบ้านช้าง จำนวน 30 คน จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเกิดการจัดตั้งกลุ่มและรวมกลุ่มกันสร้างโรงเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ทำให้มีรายได้เสริมต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และการเผยแพร่การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง สามารถขยายผลไปยังเกษตรกรรายอื่นที่ความสนใจในการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเศรษฐกิจBCG Economy. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566, จาก https: // www . nxpo .or.th/th/8089/.
เทศบาลตำบลราชคราม. (2565). ข้อมูลทั่วไปเทศบาลราชคราม. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://ratchakhram.go.th/public/list/data/index/menu/1144.
ประกอบศักดิ์ กิติพนาศิลป์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, เดโช แขน้ำแก้ว และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. (2562). ท่าช้างเห็ดนางฟ้า : วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้าโรงเรือนเพื่อสร้างอาชีพเสริม ในชุมชนกรณีศึกษา กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าบ้านท่าช้าง ท่าช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์. 2 (2), น. 62-78.
รภัทร หาทวายการ และอัมพน ห่อนาค. (2557). กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายฟาร์มเห็ดเกษตรอ้วนอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7 (2), น. 80-92.
วัชระ สุขแสวง, สุชาติ ดุมนิล, อัษฎา วรรณกายนต์, นิคม ลนขุนทด และมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. (2565). การพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์. 9 (11), น. 181-195.
สัญญา ควรคิด, ก้องภพ ชาอามาตย์ และธวัชชัย ทองเหลี่ยม. (2564). การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมการเพาะเห็ดหลายชนิดภายในโรงเรือน. วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์โดยสมาคม ECTI. 1 (2), น. 1-7.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประเด็นที่ 3 การเกษตร.ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566, จากhttp://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/03/masterplan_updated2023_080363.pdf.
สุดารัตน์ จงไกรจักร, เบญจรงค์ ทองนุช, ธนภรณ์ ชูเชื้อ, สหัสวรรษ พวงทอง, และณรงค์ศักดิ์ มีเเก้ว. (2564). การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดฟาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น ตําบลตะกุกเหนือ อําเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน. 2 (2), น. 29-38.
อภิชาติ ศรีสะอาด และพัชรี สำโรงเย็น. (2556). แนวคิดและแบบอย่างการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างง่ายต้นทุนต่ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นาคา อินเตอร์มีเดีย.
Hermayanto R. (2023). Effective Marketing Strategies in Business: Trends and Best Practices in the Digital Age. Retrieved May 18, 2024, from https://doi.org/10.26858/ja.v10i1.45101.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว