ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลจากสองสถาบันการศึกษา: การศึกษานำร่อง
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาระดับคะแนนของทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย พฤติกรรมและวิธีการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับตัวแปรเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 493 คน จากสองสถาบันการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมและวิธีการควบคุมน้ำหนัก ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายในการควบคุมน้ำหนัก (ค่าความเชื่อมั่น =.73) และทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง (ค่าความเชื่อมั่น =.936) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนระหว่างกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติ T-test, ANOVA และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนรวมของตัวแปรต่อเนื่องด้วย Pearson’ product moment correlation coefficient (r) และ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมาตรอันดับและมาตรนามบัญญัติด้วย Chi-square
ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีคะแนนความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก ในระดับต่ำ (total score = 8; mean = 3.87; SD=2.18) มีทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเองในระดับปานกลาง (total score 55; mean 38.46 =; SD=8.65) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายในระดับพอใช้ (total score= 25; mean= 14.75; SD=2.56) และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความพยายามที่จะควบคุมน้ำหนัก (n=232; ร้อยละ 47.5) มีค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย (BMI) =21.84 (SD=4.16) โดย BMI มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับทัศนคติต่อรูปลักษณ์ของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.171, p<.001) ระดับ BMI มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความพยายามที่จะควบคุมน้ำหนัก (χ²(9) = 143.86, p = <.001, Cramér’s V = 0.31) กลุ่มที่มีความพยายามควบคุมน้ำหนักที่แตกต่างกันมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย (F (3,483) = 2.63, p =.049) ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ (F (3,483)= 3.39, P =.018) แตกต่างกัน สถาบันการศึกษาพยาบาลควรให้ความรู้และจัดโปรแกรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพดีและการควบคุมน้ำหนัก พร้อมกับส่งเสริมทัศนคติต่อรูปลักษณ์ที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาพยาบาล
References
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 28(1). น. 122-128.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย.(พิมพ์ครั้งที่ 5). อักษรกราฟฟิค แอนดีไซด์
สุลักษณา ตันติธนวัฒน์. (2560). ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ ความเคารพต่อรูปลักษณ์ของตนเอง และความเสมอภาค ทางเพศ ที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อการสื่อสารด้วยสิ่งดึงดูดทางเพศ และการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคเพศหญิงกลุ่มมิลเลนเนียล. [วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แสงเทียน ธรรมลิขิตกุล และสิริรัก สินอุดมผล. (2559). ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข การลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์. 23(2). น. 7-29.
อรพินท์ สีขาว, อภิรมย์ฤดี สมสวย, ศิริญญา ธนะขว้าง, ปรางค์ทอง คุณเที่ยง, นันทัชพร ต๊อดแก้ว, ฐิตาภา บุญมีประเสริฐ, สุพัตรา ยานุพรม, รุ่งนภา นวธร, ชนิดดาภา พันธ์ไม้, จินตนา แก้วนันเฮ้า, ลัดดาวัลย์ คำแสน, โสภิดา ประชุมพันธ์, ณิชาภัทร บุรีเลิศ. (2561). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 22(43-44). น. 1-12.
อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, สุทธีพร มูลศาสตร์ และกฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35(2), น. 57.
Badrin, S., Daud, N. & Ismail, S.B. (2018). Body Weight Perception and Weight Loss Practices among Private College Students in Kelantan State, Malaysia. Korean Journal of Family Medicine. 39(6), pp. 355-359. DOI: https://doi.org/10.4082/kjfm.17.0132
Barinas, J. L., McDermott, R. C., Williams, S. G., Fruh, S. M., Hauff, C., Hudson, G. M., Melnyk, B. M. (2022). Positive and negative psychosocial factors related to healthy and unhealthy weight control among nursing students. Journal of professional nursing: official journal of the American Association of Colleges of Nursing. 42, pp. 290–300. https://doi.org/10.1016/j.profnurs.2022.07.017
Best, John.(1977).Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.
Chaimay, P. (2013). Sample size determination in descriptive study in public health. Journal of Thaksin. 16(2), pp. 9-18.
Divecha, C. A., Simon, M. A., Asaad, A. A., & Tayyab, H. (2022). Body Image Perceptions and Body Image Dissatisfaction among Medical Students in Oman. Sultan Qaboos University medical journal. 22(2), pp. 218–224. https://doi.org/10.18295/squmj.8.2021.121
Keyworth, C., Peters, S., Chisholm, A., & Hart, J. (2013). Nursing students' perceptions of obesity and behaviour change: implications for undergraduate nurse education. Nurse education today. 33(5), pp. 481-485. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2012.05.016
Lee, J., Jin, M., Son, H., & Cui, W. (2017). Body-related perspectives and weight control methods of Korean-Chinese nursing school students in Yanbian, China: A pilot study. Osong Public Health Res Perspect, 8(4), pp. 275-281. https://doi.org/10.24171/j.phrp.2017.8.4.08
Mazzaia, M, C., & Cruz Santos, R, M. (2018). Risk factors for eating disorders among undergraduate nursing students. Acta Paul Enferm, 31 (5), pp. 49-56. https://doi.org/10.1590/1982-0194201800065
McHugh, M. L. (2013). The chi-square test of independence. Biochemia medica. 23(2), pp.143-149. https://doi.org/10.11613/bm.2013.018
Múnera Gaviria, H. A., Salazar Blandón, D. A., Pastor Durango, M. del P., & Alzate Yepes, T. (2017). Overweight and obesity conditions: Prevalence and associated risk factors in nursing students in a Public University in Medellín, Colombia. Investigation & Educacion En Enfermeria. 35(2), pp. 191-198. https://doi.org/10.17533/udea.iee.v35n2a08
Musikthong, J., Sriyuktasuth, A., Kongkar, R., & Sangwichaipat, N. (2011). Nutritional knowledge, Attitude towards food, Food consumption behavior, and Nutritional status in nursing students, Faculty of Nursing, Mahidol University. Journal of Nursing Science. 28(3), pp. 40-49.
Paudel, S., Poudel, A., Arjyal, A., G. C., K. B., & K. C., S. (2020). Analysis of health promoting lifestyle behaviors among nursing students from a college of a health sciences academy in Kathmandu, Nepal. Middle East Journal of Nursing. 14(2), pp. 3-10. https://doi.org/10.5742 MEJN.2019.93697
Selvi, S., B, J., & Kanniammal, C. (2019). Assessment of anthropometric measures and prediction of obesity among selected nursing college students. International Journal of Nursing Education. 11(4), pp. 9-13. https://doi.org/10.5958/0974-9357.2019.00078.3
Shagar, P., Harris, N., Boddy, J., & Donovan, C. (2017). The Relationship Between Body Image Concerns and Weight-Related Behaviours of Adolescents and Emerging Adults: A Systematic Review. Behaviour Change. 34(4), pp. 208-252. doi:10.1017/bec.2018.3
Streiner, D.L. & Kottner, J. (2014) Recommendations for reporting the results of studies of instrument and scale development and testing. Journal of Advanced Nursing. 70(9), pp. 1970–1979. doi: 10.1111/jan.12402
Williamson, W., & Kautz, D. D. (2013). Increasing awareness in African American BSN students of the health risks of obesity. ABNF Journal. 24(2), pp. 40-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว