รายงานการวิจัยติดตามและประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามกรอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติระดับปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นงเยาว์ อุทุมพร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะผู้เรียนตามกรอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์, ระดับปฐมวัย, มาตรฐานการศึกษาของชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามกรอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 2) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 และ3) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 มีการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อประเมินคุณลักษณะผู้เรียนและศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครู/คณาจารย์ 540 คน ผู้บริหาร 190 คน กรรมการสถานศึกษา 190 คน ผู้ปกครอง 340 คนรวม 1,260 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ สำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อประเมินคุณลักษณะผู้เรียน ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการการจัดการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 2 ฉบับ การวิเคราะห์ด้วยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้เรียน (1) คุณลักษณะด้านร่างกาย  (2) คุณลักษณะด้านอารมณ์และจิตใจ (3) คุณลักษณะด้านสังคม และ (4) คุณลักษณะด้านสติปัญญา มีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก 2)  สภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา (1) ด้านนโยบายและกลยุทธ์การจัดการศึกษา (2) ด้านหลักสูตร (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4) ด้านสื่อและเครือข่ายการเรียนรู้ (5) ด้านการวัดและประเมินผล (6) ด้านการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (7) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนของต้นสังกัด (8) ด้านภาคีเครือข่าย และ (9) ด้านการบริหารจัดการและการบูรณาการการจัดการศึกษา สถานศึกษามีการบริหารจัดการ โดยดำเนินการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกด้าน และ 3) แนวทางการจัดการศึกษา รัฐบาลหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาเน้นการเตรียมความพร้อมควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มีสท์.

เยาวภา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แมค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2559). รายงานความก้าวการวิจัย โครงการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ค). มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การพัฒนาการศึกษาของไทย. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ง). รายงานผลการวิจัยแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563จ). รายงานผลการศึกษาเรื่องการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ: บทเรียนจากต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562ข). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

อมรรัตน์ บุญเสนอ. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. ปริญญานิพนธ์ กศม. สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27