การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์ rajapruk university

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, องค์การบริหารส่วนตำบล, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และ ค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการฝึกอบรม ด้านการสรรหา ด้านการธำรงรักษา ด้านการบริหารค่าตอบแทน และด้านการบรรจุแต่งตั้ง (2) การเปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาล: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

จารุภา แซ่ฮ่อ. (2563). การพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธงเทพ รัตนวิชา. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมส่งออกในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.

บังอร บรรเทา. (2559). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครองการบริหารการจัดการ-การบริหารทรัพยากรมนุษย์-นโยบาย. 6(1), น. 284-300.

ประจวบ สอนจันทร์. (2561). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ. 3(2), น. 2-0.

รณภณ จันต๊ะ. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ณภัทร ก็อปปี้.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2556). การพัฒนาองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีดีบุ๊คสโตร์.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). เข้าถึงได้จาก http:// www.pakkretcity.go.th.

Best, John W. (2001). Research in Education. New Jessey: Englewood Cliffo.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale” Reading in Attitude Theory and Measurement. P 90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25