ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทัศนคติ พฤติกรรมที่มีต่อการซื้อสินค้าออนไลน์และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามลักษณะของประชากร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Anova จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 244 คน คิดเป็นร้อยละ 61.20 อายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 39.30 รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 32.80 สถานภาพโสดจำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 64.40 สำหรับกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติและพฤติกรรมต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.29 และ 4.06 ตามลำดับ และจาการเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชน จำแนกตามเพศ อาชีพ รายได้และสถานภาพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชน จำแนกตามอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ากลุ่มอายุที่มีความแตกต่างกันรายคู่ดังนี้ น้อยกว่า 15 ปี มีทัศนคติการซื้อสินค้าออนไลน์แตกต่างกับกลุ่มอายุระหว่าง 15 - 24 ปี, กลุ่มอายุระหว่าง 25 - 34 ปี และกลุ่มอายุระหว่าง 35 – 44 ปี
References
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น ออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุพเรศ พิริยพลพงศ์. (2557). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอพพลิเคชั่นซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). การบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM). กรุงเทพฯ: สถาบัน TDRM.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก https://bit.ly/3oJkAV4.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, (2559). สถิติเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในจังหวัดกำแพงเพชร ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก http://kpphet.old.nso.go.th.
เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงค์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุธาทิพย์ ทั่วจบ. (2562). พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8 (2), หน้า 195-205.
เอกพล รุ่งโรจน์กิจกุล. (2557). พฤติกรรมการใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
Benjamin Chan Yin-Fah และ Bei Hooi-Choo. (2010). Undergraduates and Online Purchasing Behavior. Asian Social Science. Retrieved April 1, 2020, from www.ccsenet.org/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-30 (2)
- 2022-06-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว