แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบางพลี (ปุณณิกาเดคูพาจ)
คำสำคัญ:
แผนธุรกิจ วิสาหกิจชุมชน เดคูพาจบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน บางพลี (ปุณณิกา เดคูพาจ) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ในการจัดทำแผนธุรกิจวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ 2. ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ จำนวน 12 คน เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาเรียบเรียงในรูปแบบของข้อความโดยการจัดกลุ่มประเด็น วิเคราะห์ตามประเด็นของข้อมูล และอภิปรายผลโดยการพรรณนา และ (2) แนวทางการสนทนากลุ่ม โดยนำแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาให้ผู้ประกอบการด้านวิสาหกิจชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์บริหารธุรกิจ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยจะเลือกศึกษาจากประชากรที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา จำนวน 7 คน มาร่วมวิพากษ์แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำไปทดลองใช้และประเมินผล
ผลการวิจัยสรุปว่า
1. องค์ประกอบในการจัดทำแผนธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ ประกอบด้วย บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การวิเคราะห์สถานการณ์ กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ แผนการตลาด แผนการจัดการ แผนการผลิต/ปฏิบัติการ แผนการเงิน และแผนฉุกเฉิน
2. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาแผนธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนบางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ระดับองค์กร แบ่งเป็นการขยายตัวไปในธุรกิจเดิมและการขยายตัวไปในธุรกิจอื่น 2) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ควรเน้นการสร้างความแตกต่าง 3) กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการตลาด กลยุทธ์ด้านการเงิน กลยุทธ์ด้านการบริการ และกลยุทธ์ด้านการจัดการ
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). รายงานจำนวนผู้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง. กระทรวงเกษตร์และสหกรณ์: กรุงเทพมหานคร.
ขัตติยา ขัติยวรา. (2558). การถ่ายทอดความรู้เรื่องแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพหัตถกรรมชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(3): 1-9.
ทิชากร เกสรบัว. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพแข่งขันทางการตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการรายใหม่(ประเภทเครื่องจักสาน) ในตลาดอาเซียน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรทำนาข้าวบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23(41): 225-247.
ธวัชชัย ฟ้าแสงและคณะ. (2557). การวิจัยและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่ามอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(1): 63-72.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร. 34(1): 177-191.
วิชิต อู่อ้น. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์ : ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์กรณีศึกษาเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : พรินท์แอทมี (ประเทศไทย)
พรศิริ กองนวล และคณะ. (2559). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดสมุทรปราการ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ภาสกร โทณะวณิก. (2554). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรม สาขางานจักสานของจังหวัดเชียงใหม่.รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฐบาลไทย. (2559). ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพ: 2559
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อินเฮาส์ โนว์เลจ.
รุ่งนภา ต่ออุดม. (2556). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรม
เกษตร จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบริหารธุรกิจราชมงคล ธัญบุรี. 8 (1): 45-58
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของ ประเทศไทย ปี 2558. มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 จากhttps://www.etda.or.th/download-publishing/51/
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลฯ (ร่าง).
เอกพล บรรลือ. (2559). เหลื่อมล้ำ ว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์!สัญญาณเตือนภัยครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจไทย.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 จาก http://themomentum.co/momentum-feature-thai-ecomomic-unemployed.
อัญชลี เยาวราช. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความภักดีของการใช้บัตรสมาชิก The 1 Card ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 20(2): 63-70.
Hansson, E. (2016). A Cost-Utility Analysis. Person: NJ
Ghosh, B. (2016). The Global Business of Coaching: A Meta-Analytical Perspective. New Jersey: Prentice - Hall.
Robehmed, N. (2013). What Is a Startup. Retrieved. 30 April 2017. From: https://www.forbes.com/sites/natalierobehmed/2013/12/16/what-is-a-startup/#f35dc0e40440.
World bank. (2016). The Changing Wealth of Nations. Retrieved. 30 April 2017. From:
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-30 (2)
- 2022-06-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว