ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเมือง กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเมือง และ (2) ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมี 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ชาวชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ 33 คน (2) ตัวแทนชาวชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ 10 คน และ (3) กลุ่มผู้นำชุมชน 7 คน ถูกคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ การสังเกต การใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิเป็นชุมชนเขตเมืองขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี มีภูมิทัศน์ที่สะอาด สวยงาม และร่มรื่น ในอดีตชุมชนเคยประสบปัญหาด้านการจัดการขยะ แต่ต่อมาชาวชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาและสามารถจัดการปัญหาขยะในชุมชนได้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ จนทำให้ชุมชนได้รับรางวัลและเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะในเขตเมือง ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน 2) หน่วยงานภาครัฐ 3) วิธีการ 4) วิถีชุมชน และ 5) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปและนำมาจัดทำเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะชุมชนในเขตเมืองในรูปแบบโมเดลการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ (1) ชุมชน (2) หน่วยงานภาครัฐ และ (3) วิธีการ โดยแต่ละองค์ประกอบมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันเป็นองคาพยพ
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: หจก.ส.มงคลการพิมพ์.
กิติยา โต๊ะทอง. (2562). รายงานการวิจัย การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นภวรรณ รัตสุข. (2559). การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(5), หน้า 260-273.
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตคลองสาน. (2558). องค์ความรู้การคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด การใช้ประโยชน์จากมูลฝอย และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และศุภวรรณ ภิรมย์ทอง. (2558). การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 8(2), หน้า 7-29.
วิชัย เกียรติสามิภักดิ์. (2557). ความเข้มแข็งของชุมชนในการกำจัดขยะมูลฝอยกับการจัดการภาครัฐ กรณีศึกษาชุมชนตลาดไท เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 9(1), หน้า 104-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-30 (2)
- 2022-06-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว