ความพึงพอใจที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี ตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ปัจจัยการตัดสินใจ, นักท่องเที่ยวไทย, ตลาดคลองสวน 100 ปีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดคลองสวน 100 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามในรูปของ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ด้านมีความน่าชื่อถือ ด้านการตอบสนอง ด้านความเชื่อมั่นไว้ใจ และด้านการเอาใจใส่ โดยสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความชื่อมั่นไว้ใจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่นั้นสามารถดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวได้ถึงแม้จะมีจำนวนเจ้าหน้าที่ได้ด้านนี้น้อยแต่นักท่องเที่ยวนั้นยังรับรู้ถึงความปลอดภัยที่เจ้าหน้าที่ที่จะพร้อมให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี และมีการจัดระบบการรักษาความปลอดภัยมีความปลอดภัยที่ดี ส่วนเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเบ็ดเตล็ด และของฝากที่ขายในตลาดคลองสวน 100 ปี มีความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ 2) ปัจจัยต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี พบว่า ให้ความสำคัญต่อปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่และการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านราคา สินค้า และบริการด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านความต้องการส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาสินค้าและบริการมากที่สุด และ 3) แนวทางการพัฒนาตลาดคลองสวน 100 ปี พบว่า ควรมีการพัฒนาในเรื่องรถประจำทางสาธารณะในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพและราคาของสินค้า และจำนวนของเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
References
ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. (2555). พิพิธภัณฑ์ตลาดคลองสวน. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560, จากhttp://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=335&CID=40372
ธนกฤต สุทธินันทโชติ. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ - เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธรรญชนก เพชรานนท์. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้าชายแดนจังหวังเชียงราย. กรุงเทพมหานคร : สุทธิปริทัศน์
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและจิตใจ. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว tourism economic review. 59 (4), น. 46–57.
สถิติทางการ ประเทศไทย. (2555). ประเภทการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560, จากhttp://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/files/Tourism.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉ.12.pdf
Middleton, Victor T.C. (1994). Marketing in Travel and Tourism. 2nd Ed. Oxford: Heinemann Professional Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว