การจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะ CLT สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ยิ้มสกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, ทักษะภาษาอังกฤษ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีรูปแบบการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 (2) เพื่อศึกษา ความสามารถด้านฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครู จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ทุกแผนมีความเหมาะสม มีความครอบคลุม มีความถูกต้องของเนื้อหา สามารถนำไปใช้ในกาจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้การทดสอบก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ นักศึกษามีความสามารถด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ ในระดับมาก

References

กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). วิจัยเพื่อพัฒนา. กรุงเทพมหานคร :
กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2539). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร :
คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้ง
ที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (2545). หลักการพูด. กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. ( 2545). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1 (3), หน้า 22 - 31.

นิศากร แสงสว่าง. (2557). ผลการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษที่เน้นนิทานคุณธรรม
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรมสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสกลวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
ในฐานภาษาต่างประเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภาพร นุชอำพันธ์. (2554). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง อาหารและสุขภาพสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ฉบับกฤษฎีกา. (2546, 6
กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 120 ตอนที่ 62 ก, หน้า 1-30.

วราพรรณ จิตรัมย์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้เทคนิค CLT. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงศ์.

ศิริวรรณ มาลัย. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-การพูดและความเชื่อมั่นในตนเอง
ต่อการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการสอนแบบ T.P.R.
(TotalPhysical Response) ประกอบสื่อในชีวิตประจำวันกับการสอนตามคู่มือครู.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตาม
หลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เสน่ห์ บุญศรีรัมย์. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2531). เอกสารคำสอนหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.

หริสา ยงวรรณกร, สมชาย เทพแสง และถนัด อนันต์. (2556). การปฏิรูปการเรียนรู้ของครูในยุคโลกาภิวัตน์.
วารสารบริหารการศึกษา มศว. 10 (19), หน้า 13-21.

อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูด
ภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 โรงเรียนบ้านควนสวรรค
จังหวัดตรัง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะ
ภาษาตางประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Graddol, D. (2006). English Next. London: British Council.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Educational Administration: Theory, Research, and
Practice. (6thed). Boston: McGraw - Hall.

Johnson, K., and Morrow, K. (1981). Communication in the Classroom. Harlow: Longman.

Laghos, A., & Zaphiris, P. (2009). Computer Assisted Aided Language Learning. United
Kingdom: University.

Nunan, D. (1991). Language Teaching Methodology: A Textbook for Teacher.
NJ: Prentice Hall.

Ur, P. (1981). Teaching Listening Comprehension. Cambridge: Cambridge University
Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28