ความไว้วางใจ ภาพลักษณ์ของธนาคาร มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ สามงามมี สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปวีณา ศรีบุญเรือง สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจ, ภาพลักษณ์, บริการพร้อมเพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความไว้วางใจ ภาพลักษณ์ของธนาคารที่มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยด้านความไว้วางใจและภาพลักษณ์ของธนาคารที่มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความไว้วางใจในการดำเนินงานของธนาคารอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเป็นธนาคารของรัฐสร้างความมั่นใจในรูปแบบของบริการ ส่วนภาพลักษณ์ของธนาคาร ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าธนาคารมีภาพลักษณ์อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับแนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับบริการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในระดับปานกลางและจะแนะนำหรือบอกต่อการใช้บริการในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าหากผู้ตอบแบบสอบถามมีความไว้วางใจต่อธนาคารในระดับสูงจะทำให้แนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานครสูงขึ้นตาม นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ธนาคารด้านความมั่นคงมีภาพลักษณ์องค์กรในด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่สูง มีผลทำให้แนวโน้มการใช้บริการพร้อมเพย์ธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานครสูงขึ้นตาม

References

เกศวิทู ทิพยศ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน
สื่อออนไลน์กรณีศึกษาธนาคารซีไอเอ็นบีไทย จำกัด (มหาชน). ค้นเมื่อ 15 มีนาคม2561, จาก www.utccmbaonline.com/ijbr/doc/Id289-18-04-2016_16:38:03.pdf.

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2559). ประเทศไทย 4.0 การตลาด 4.0. Marketeer. 17 (197), หน้า 138-139.

จรัญญา. (2559). เจาะลึก! “พร้อมเพย์” ปฏิรูประบบการโอนเงินรูปแบบใหม่. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2561, จาก http://news.mthai.com/hot-news/economy- news/503732.html.

ถนัดกิจ จันกิเสน. (2559). Digital Banking มา “สาขา” แบงก์ไทยจะหายไป. Marketeer, 17 (198), หน้า92.

ธนาคารกรุงไทย. (2559). ธนาคารกรุงไทย. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก http://www.ktb. co.th/ktb/th/ktb-msg-president.aspx

พรพรรณ ช้างงานเนียม. (2553). ลักษณะบุคคล ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทาง การเงินผ่านโทรศัพท์มือถือของลูกค้าธนาคารในกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2561, จาก www.repository.rmutt.ac.th/bitstream/handle.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). พร้อมเพย์. COMPANY 59 EFFECT. 19 (220), หน้า 49.

อรวรรณ บัณฑิตกุล. (2559). องค์กรที่ต้อง Sexy. Marketeer. 17 (196), หน้า 72-73.

ไทยรัฐ. (2559, 14 เมษายน 2559 ). แอพพลิเคชั่น “เงินออนไลน์” ในยุค 4 จี. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก http://www.thairath.co.th/content/ 605300

Techsauce. (2559, 19 กันยายน 2559). พร้อมเพย์ พร้อมรึยัง ไขทุกข้อข้องใจและความเข้าใจผิด
พร้อมเพย์. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก http://techsauce.co/article/promptpay-national- epayment-explained/

Reina, DS; & Reina, ML. (1999). Trust & betrayal in the work place. Berrett-Koehler.

Robert Bruce Shaw. (1997). Trust in the balance : building successful organizations on results, integrity, and concern.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28