การสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้จากทุนชุมชนในวิทยาลัยผู้สูงอายุตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จามรี พระสุนิล สาขาวิชาการพัฒนาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เบญจมาศ เมืองเกษม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ณรงค์ เจนใจ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ทุนชุมชน, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนชุมชนในตำบลเวียงเหนือที่สามารถนำมาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในวิทยาลัยผู้สูงอายุตำบลเวียงเหนือ และ 2) เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้จากทุนชุมชนในวิทยาลัยผู้สูงอายุ ตำบลเวียงเหนือ โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุในวิทยาลัยผู้สูงอายุตำบลเวียงเหนือ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำตามธรรมชาติ ผู้บริหารจัดการวิทยาลัยผู้สูงอายุตำบลเวียงเหนือ เครื่องมือหลักได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชุมชนผลการวิจัยพบว่าทุนชุมชนของตำบลเวียงเหนือประกอบไปด้วยทุนภูมิปัญญา(ความรู้) และทุนทางสังคมวัฒนธรรม โดยนำมาจัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยผู้สูงอายุ ผ่านกิจกรรม 4 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมเข้าจังหวะ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการจักสาน กิจกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยสมุนไพรใกล้ตัว และกิจกรรมด้านอาชีพต่างๆซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความภาคภูมิใจ และพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2555). การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 24 (1), หน้า 66-72.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 จากhttp://www.dop.go.th/download/knowledge/th1543898263-146_0.pdf

ณัฐวดี ใจแสวงทรัพย์. (2557). การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (2), หน้า 476-488.

บุปผา ศรีทองแท้. (2558). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ ด้วยของเล่นภูมิปัญญาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 1 (1), หน้า 126-150.

ภัณฑิกา สหายมิตร. (2551). ทุนทางสังคมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านกิ่วลม ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศศิธร ขันติธรางกูร, จงกล คำมี และกฤษณา บุตรปาละ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตจังหวัดเลย. เลย :ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สมิทธิ์ เจือจินดา และปรีชา แสงโชติ. (2558). กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการป้องกันอุทกภัย ของชุมชนเขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม.
1 (1), หน้า 135-150.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28