ผลของสารสกัดจากขมิ้นต่อคุณสมบัติเชิงแม่เหล็กของอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์

ผู้แต่ง

  • ศิริวัฒนา อุ่นผาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วสุกิจจ์ ธนูรัตน์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 จังหวัดขอนแก่น
  • สุภาวดี ดาวดี สาขาวิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิยะดา หาญชนะ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธีรยุทธ ชาญนุวงศ์ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรรณา ศิริแสงตระกูล สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์, แมกนีไทต์, แมกฮีไมต์

บทคัดย่อ

จากคุณสมบัติที่เปลี่ยนไปของสนามแม่เหล็กในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการตอกหรือประทับลงบนแผ่นโลหะ เมื่อฉีดพ่นด้วยอนุภาคแม่เหล็กลงไปจะมีการดึงดูดทำให้เกิดเป็นเส้นให้เห็นร่องรอยการกู้คืนได้ และจากคุณสมบัติของอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์ (Iron oxide magnetic nanoparticles, IMNs) ที่แสดงคุณสมบัติเชิงแม่เหล็กได้ดีสังเคราะห์ง่าย มีความเป็นพิษต่ำ การศึกษานำร่องในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงแม่เหล็กของอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์ที่เคลือบอนุภาคด้วยสารสกัดจากขมิ้น โดยการสังเคราะห์ด้วยวิธีตกตะกอนร่วมร่วมกับอัลตร้าโซนิคคาวิเตชัน แล้วเคลือบด้วยสารสกัดขมิ้น โดยมีกรดโอเลอิกเป็นตัวเชื่อม ตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปคโทรสโกปี (FTIR), แมกนีโตมิเตอร์แบบตัวอย่างสั่น (VSM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ผลการศึกษาพบว่า FTIR ยืนยันการเกิดพันธะระหว่างสารสกัดขมิ้นกับอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์(ความถี่ 1503.35 cm-1 และ 3370.72 cm-1) เกิดเป็นอนุภาค Curcumin loaded-Iron oxide magnetic nanoparticles (CMNs) ที่สังเคราะห์ได้ และมีค่าการดูดกลืนแสงที่ 424 nm คุณสมบัติทางแม่เหล็กวิเคราะห์ด้วย VSM พบเป็นอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์ที่ประกอบด้วยแมกนีไทต์ (Fe3O4) และแมกฮีไมต์ (-Fe2O3) ขนาดของอนุภาคเฉลี่ยเมื่อวิเคราะห์ด้วย TEM พบมีขนาดใกล้เคียงกับ Unloaded-Iron oxide magnetic nanoparticles (UMNs) แต่ค่าแมกนีไตเซชันอิ่มตัวของ CMNs มีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ UMNs และ IMNs และแสดงพฤติกรรมแม่เหล็กแบบซุปเปอร์พารา (superparamagnetic) ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กออกไซด์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจพิสูจน์การขูดลบร่องรอยเลขหมายรถยนต์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรมต่อไป

References

ฐิติรัตน์ เจริญตา. (2555). การเตรียมและการศึกษาลักษณะของอนุภาคนาโนแม่เหล็กสำหรับงานด้าน ไฮเปอร์เทอร์เมีย วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เย็นหทัย แน่นหนา. (2549). สเปกโทรสโกปี สำหรับเคมีอินทรีย์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม. (2549). อิทธิพลของอุณหภูมิ เวลา และตัวทำละลายที่มีต่อการสกัดสารเคอร์คูมิน
จากขมิ้นชัน. วิศวกรรมสาร มข. 33(3) 225-236.

สันติ ภูมิยิ่ง. (2555). การสังเคราะห์ลักษณะเฉพาะและสมบัติทางแม่เหล็กของอนุภาคนาโนแม่เหล็ก
เฟอร์ไรต์เตรียมโดยวิธีการไฮโดรเทอร์มอลร่วมกับสารละลายสกัดจากว่านหางจระเข้. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุปรีดิ์ พินิจสุนทร. (2558). วัสดุแม่เหล็ก Magnetic Materials. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Anwar, M., Asfer, M., Prajapati, A.P., Mohapatra, S., Akhter, S., Ali, A., & Ahmad, F.J. (2014). Synthesis and in vitro localization study of curcumin-load SPIONs in a micro capillary for simulating a targeted drug delivery system. International Journal of Pharmaceutic. 468 (1-2): 158-164.

Azlan Mohd. Zaili, M., Kuppuswamy, R., & Harun, H. (2007). Restoration of engraved marks on steel surfaces by etching technique. Forensic Science International. 171(1): 27– 32.

Barick, K.C., Ekta, E., Gawali, S.L., Sarkar, A., Kunwar, A., Priyadarsini, K.I., & Hassan, P.A. (2016). Pluronic stabilized Fe3O4 magnetic nanoparticles for intracellular delivery of curcumin. RSC Advances. 6(101): 98674–98681.


Dang, F., Kamada, K., Enomoto, N., Hojo, J., & Enpuku, K. (2007). Sonochemical synthsis of magnetite nanoparticle in aqueous solution. Journal of the Ceramic Society of Japan. 115 (1348): 867-872.

Gnanaprakash, G., Mahadevan, S., Jayakumar, T., Kalyanasundaram, P., Philip, J., & Raj, B. (2007). Effect of initial pH and temperature of iron salt solutions on formation of magnetite nanonparticles. Materials Chemistry and Physic. 103 (1): 168-175.

Kandpal, N.D., Sah, N., Loshali, R., & Prasad, J. (2013). Co - precipitation method of synthesis and characterization of iron oxide nanoparticles. Journal of Scientific & Industrial Research. (73): 87-90.

Kitture, R., Ghosh, S., Kulkarmi, P., Liu, X.L., Maity, D., Patil, S.I., & Kale, S.N. (2012) Fe3O4- citrate-curcumin: Promissing conjugates for superoxide scavenging, tumor suppression and cancer hyperthermia. Journal of Applied Physics. 111(6): 064702.

Kuppuswamy, R., & Senthilkumar, M. (2004). Restoration of vehicle identification number. Journal of Forensic Identification. 1 (54): 13-21.

Mahdavi, M., Ahmad, M., Haron, M., Namvar, F., Nadi, B., Rahman, M., & Amin, J. (2013). Synthesis, Surface modification and characterisation of biocompatible magnetic iron oxide nanoparticles for biomedical application. Molecules. 18 (7): 7533-7548.

Medeiros, S.F., Santon, A.M., Fessi, H., & Elasissari, A. (2011). Stimali-responsive magnetic particles for biomedical application. International Journal of Phamaceutice. 403 (1-2): 139-161.

Mozayani, A., & Noziglia, C., (Eds) (2011). The forensic laboratory Handbook:Procedures and practice. 2 nd ed. New Jersey: Humana Press.

Pattayyil. (2016). Curcumin coated magnetite nanoparticles for biomedical applications. United States Patent. US9468691 B2: 6.

Ramimoghadam, D., Bagheri, S., & Hamid, S.B.A. (2014). Progress in electrochemical synthesis of magnetic iron oxide nanoparticles. Journal of Magnetism and Magnetic Materials. (368): 207–229.

Tran, L.D., Hoang, N.M.T., Mai, T.T., Tran, H.V., Nguyen, N.T., Tran, T.D., & Nguyen, P.X. (2010). Nanosized magnetofluorescent Fe3O4–curcumin conjugate for multimodal monitoring and drug targeting. Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects. 371 (1-3): 104–112.

Treptow, S. (1997). Handbook of Methods for the Restoration of Obliterated Serial Numbers. Chicago : Public Domain Nat’l Aer onautice&space Admin.

Tsukimura, K., Sasaki, S., & Kimizuka, N. (1997). Cation Distributions in Nickel Ferrites. Japanese Journal of Applied Physics. 36 (Part 1, No. 6A), 3609–3612.

Wu, W., He, Q., & Jiang, C. (2008) Magnatic iron oxide nanoparticles: synthesis and surface functionalization strategies. Nanoscale Research Letter. (3): 397-415.

Zhang, L., He, R., & Gu, H.-C. (2006). Oleic acid coating on the monodisperse magnetite nanoparticles. Applied Surface Science. 253

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28