การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรม ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน, การบริหารงบประมาณ, มาตรฐานการเงิน 7 ด้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 379 โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t - test โดยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสภาพระดับการปฏิบัติรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้โดยมีค่าร้อยละ เท่ากับ 59.58 และมีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.74 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.10 2. รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 1) หลักการ 2) กระบวนการบริหารจัดการซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผนงบประมาณการคำนวณต้นทุนผลผลิตการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การบริหารสินทรัพย์ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานและการตรวจสอบภายในและ 3) เงื่อนไขของความสำเร็จ 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.83 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.15 4. ผลการทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าคะแนนหลังใช้คู่มือสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การพัฒนาระบบงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารประกอบการประชุมในโครงการประชุมสัมมนาจัดโดย กระทรวงศึกษาธิการระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2542
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2552). การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2542). การปฏิรูประบบราชการ: ทางออกของการแก้ปัญหาและ
ฟันฝ่าวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.).
จินตนา ศักดิ์ภู่อร่าม. (2545). การนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนในกำกับของรัฐในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณ ระบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มแอนไซเท็กซ์.
เบญจา ศิริผล. (2557). รูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสู่ความ- เป็นเลิศ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คำสมัย.
สมชัย ฤชุพันธ์, กฤษฎา อุทยานิน, กนต์ธีร์ นุชสุวรรณ และมาลี โสมสิรินาค. (2550). รายงานวิจัยฉบับ- สมบูรณ์โครงการระบบการเงินเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.
อัมพร พงษ์กังสนานนท์. (2550). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Creswell, J., & Clark, V. P. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. California: Sage.
Geuna, A., & Martin, B. R. (2003). University research evaluation and funding: An International comparison. Minerva, 41(1), 277-304.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3): 607-610.
O’Road, J. B. (2001). Performance-based budgeting in state and ferderal fiscal performances: An Empirical analysis. Dissertation Abstracts International, 62 (1): A137.
Schilling, M. A. (2008). Strategic Management of Technological innovation.2 nd ed.. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว