การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สมจินตนา จิรายุกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • วินัยธร วิชัยดิษฐ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • วรรณภา โพธิ์ผลิ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน, เศรษฐกิจชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการที่ดีและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม 3) จัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมกรณีศึกษาในวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมบดิน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจียระไนพลอยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรและวัตถุประสงค์ที่ 3 คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมของจิ๋วเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่าการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีองค์ความรู้ภูมิปัญญา มีคุณค่าความเชื่อด้านศาสนาและวิถีวัฒนธรรม มีเครือข่ายทางสังคม การดำเนินชีวิตเรียบง่ายยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนด้านการผลิต กลุ่มขนมบดินและกลุ่มปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรได้พัฒนาเทคนิคการผลิตและการตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้สวยงามยิ่งขึ้น โดยได้บรรจุผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ และได้พัฒนาการทำบัญชีอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์และทายาททางธุรกิจได้ร่วมพัฒนาและสืบทอดกิจการของกลุ่ม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้างจุดเด่น ทัศนศิลป์อัตลักษณ์ สื่อสารเรื่องราว คุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ลงในตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ผลการวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชน พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนใช้โซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊ค แฟนเพจ และไลน์ ในการติดต่อสื่อสาร สร้างภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ผลการจัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบพบว่าศูนย์ฝึกอาชีพหัตถกรรมของจิ๋วมีการผลิตอยู่บนหลักการสำคัญ คือ มุ่งเน้นคุณภาพ บูรณาการและสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ผลการวิจัยการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงกับทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น คือ การพึ่งตนเอง การพึ่งพาร่วมมือกัน และการร่วมมือกับภายนอกชุมชนโดยมีแนวปฏิบัติตนระดับครอบครัว และระดับชุมชน ข้อเสนอการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยภาครัฐ จัดพื้นที่ของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวและขายสินค้า การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มในสื่อต่าง ๆ การจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กษมาพร พวงประยงค์. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์จังหวัด สมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 5 (1): 113.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนครและอุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจ ชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นงเยาว์ อุทุมพร. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงในเขตชุมชนเขตธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 1 (1): 46-47.

รังสรรค์ ปิติปัญญา. (2542). ศักยภาพของชุมชนในการทางธุรกิจชุมชนอุตสาหกรรม. Applied Economics Journal. 5 (2): 99-113.

เสรี พงศ์พิศ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29