การประเมินผลโครงการ พัฒนาอาสาสมัครเยาวชนดูแลผู้พิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการ เทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กัณฑ์จรี แสวงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความรู้, ความเข้าใจ, การดูแลผู้พิการ, การปฏิบัติตน, การเผยแพร่ความรู้แก่ผู้พิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของเยาวชนในการดูแลผู้พิการ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติในการดูแลผู้พิการและการเผยแพร่ความรู้ในการดูแลผู้พิการของเยาวชนให้กับครอบครัวผู้พิการ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนอาสาสมัครดูแลผู้พิการที่เข้าร่วมการอบรมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnair) ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของเยาวชนอาสาสมัครดูแลผู้พิการ สอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติและการเผยแพร่ความรู้ของเยาวชนในการดูแลผู้พิการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดูแลผู้พิการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เยาวชนมีความรู้ในการดูแลผู้พิการอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 99.6 สูงกว่าร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากเยาวชนมีพื้นฐานระดับความรู้สูง และสนใจในการดูแลผู้พิการอยู่แล้วจึงมีความรู้ในการดูแลผู้พิการอยู่ในระดับสูง 2) การนำความรู้ในการดูแลผู้พิการไปปฏิบัติและเผยแพร่มากที่สุดใน 3 ลำดับแรกคือ การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อสังเกตอาการของผู้พิการ รองลงมาคือ การสร้างความคุ้นเคยกับผู้พิการได้รวดเร็วเพียงใด และการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ 3) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ควรจัดให้มีอย่างต่อเนื่อง ควรมีวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เสนอกิจกรรม ควรให้เป็นไปตามความสมัครใจ

References

กมล ส่งวัฒนา. (2554). การประเมินโครงการ. สงขลา: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์.

โฉมยงค์ บุตรราช. (2550). กิจกรรมบำบัด. แพร่: โรงพยาบาลแพร่.

เทศบาลเมืองปากพูน. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา. นครศรีธรรมราช: เทศบาลเมืองปากพูน

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). รูปแบบการจัดการเรียนร่วมแบบรวมพลัง: การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา สำหรับเด็กพิการโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานปฏิรูปการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน สกศ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ( 2551). การวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุษราคัม จำปา. (2550). จิตอาสากับการบริการช่วยเหลือคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยศาสนศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เมธาวี ภุมรินทร์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะและตัวชี้วัดประจำตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาเฉพาะ ความพิการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 60 (2): 7-18.

ยุทธนา ทรัพย์สมบูรณ์. (2550). ความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของประชาชน ต่อบริการสาธารณะ ที่ได้รับ จากสุขาภิบาล: ศึกษาเปรียบเทียบสุขาภิบาล 12 แห่ง ในจังหวัดสกลนคร. สารนิพนธ์ รัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2553). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2554). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29