การปฏิรูปตำรวจ: การปรับปรุงองค์การและการบริหารจัดการ
คำสำคัญ:
การปฎิรูปตำรวจ, การปรับปรุงองค์การ, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร ส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน และหลักธรรมาภิบาลที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานการปฏิรูปตำรวจ 2. เพื่อสร้างแนวทางการปฏิรูปตำรวจด้วยการปรับปรุงและการบริหารจัดการองค์การตำรวจสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้บังคับบัญชาตำรวจและผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายตำรวจทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างองค์กรปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ได้แก่ ด้านการเมือง และด้านเทคโนโลยี ปัจจัยสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน ได้แก่ กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้บังคับบัญชาตำรวจ และกลุ่มรัฐบาล และหลักธรรมาภิบาล มีความสำคัญต่อการปรับปรุงองค์การและการบริหารจัดการองค์การตำรวจสมัยใหม่
References
วีระ หาญกัน และสุวรัฐ แลสันกลาง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 5 (1): 53-67.
สุวรรณ สุวรรณเวโช. (2539). ประวัติและวิวัฒนาการของตำรวจไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ตำรวจ.
Adeoye, A.O., & Elegunde, A.F.(2012). Impacts of external business environment on organizational performance in the food and beverage industry in Nigeria. British Journal of Arts and Social Sciences. 6 (2): 194-201.
Ahmad, A.M.K., Al-Qarni, A.A., Alsharqi, O.Z., Qalai, D.A., & Kadi, N.(2013). The impact of marketing mix strategy on hospitals performance measured by patient satisfaction: An empirical investigation on Jeddah private sector hospital senior managers perspective. International Journal of Marketing Studies. 5 (6): 210-227.
Creswell, J.W. (2002). Educational Research: Planning, Conducting and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. Upper Saddle River, New Jersey: Merrill Prentice Hall.
Ibrahim, R., & Primiana, I. (2015). Influence business environment on the organization performance.International Journal of Scientific & Technology Research. 4 (4): 283-293.
Kaplan, R.S., & Norton, D.P.(1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Boston: HBS Press.
Kotler, P. (2000). Marketing Management. 10 th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Lovelock, C., & Wirtz, J. (2011). Service Marketing. 7 th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Maduenyi, S., Oke, A.O., Fadeyi, O., & Ajagbe, A.M.(2015). Impact of organisational structure on organisational performance. Paper presented at the International Conference on African Development Issues (CU-ICADI) 2015: Social and Economic Models for Development Track.Canaanland, Ota Ogun State, Nigeria.
McKinsey. (1980). The Business System. New York: McKinsey Quarterly.
Oliver, C. (1997). The influence of institutional and task environment relationships on organizational performance: The Canadian construction industry. Journal of Management Studies. 34 (1): 99-124.
Paswan, A.K., Dant, R.P., & Lumpkin, J.R. (1998). An empirical investigation of the linkages among relationalism, environmental uncertainty, and bureaucratization. Journal of Business Research. 43 (3): 125-140.
Steers, R.M. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral. San Monica, CA: Goodyear.
Wheelen, T.L., & Hunger, J.D.(2012).Strategic Management and Business Policy: Toward Global Sustainability. 13 th ed. New Jersey: Peason Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว