วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันกับองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุชีลาx ศักดิ์เทวิน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, วัฒนธรรม, องค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันกับองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและ 2. เพื่อศึกษาระดับความผูกพันกับองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มประชากรคือบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้ (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีต่อ วัฒนธรรมองค์การ ในภาพรวมมีระดับมาก เมื่อพิจารณาในด้านต่าง ๆ พบว่ามีระดับมากในทุกด้าน โดยในด้านความเป็นกลุ่มนิยมสูงสุด รองลงมา คือ การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนและด้านความเหลื่อมล้ำของอำนาจ กับความเป็นปัจเจกนิยม เท่ากัน 2. ระดับความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีต่อความผูกพันกับองค์การในภาพรวมมีระดับมาก เมื่อพิจารณาในด้านต่าง ๆ พบว่ามีระดับมากในทุกด้าน โดยใน ด้านความผูกพันสูงสุด รองลงมา คือด้านพฤติกรรม และด้านทัศนคติเท่ากัน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับว่าวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันกับองค์การมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก (r =.771) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรกฎ พลพานิช. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บังคับบัญชา และพนักงานวิชาชีพการตลาด บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กัญญา รอดพิทักษ์. (2551). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานธนาคารออมสิน ฝ่ายกิจการนครหลวง 3 เขตศิริราช.
ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ชลธิชา หวังรวยนาม. (2542). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา สำนักงานปลัดสำนักนายกรับมนตรี. ภาคนิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธงชัย สินติวงษ์. (2540). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนา พานิช.

พิจิก พรหมแก้ว. (2547). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัทปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและ สวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ศศิธร เทียมถนอม. (2560).การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้โครงการออมเงินเพื่อดำรงชีพ ในวัยสูงอายุของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยราชภัฎฝั่งธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏ ธนบุรี รับใช้สังคม. 3 (1): 31- 43.

ศิริพงศ์ อินทวดี. (2541). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการประเมินผล การปฏิบัติงานทัศนคติต่อรางวัล และความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2541). การพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: ดี.ดี.บุคสโตร์.Hofstade, Greet. (1997). Culture and Organizations: Software of the Mind New York: Mcgraw – Hill.

Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steers, R.M. (1982). Employee – Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Adsenteesim and Turnover. New York: Academic Press.

Robbins, S.P. (1996). Organization Behavior: Concepts, Controversies and Application. 7 th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Steers, Richard M. (1977). Introduction to Organization Behavior. 4 th ed. New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29