ตำนานและนิทานพื้นบ้านกับกระบวนการขัดเกลาเยาวชนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ทวัช บุญแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กระบวนการขัดเกลาเยาวชน, 10 คุณธรรมพื้นฐาน, ตำนาน, นิทานพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

ตำนานและนิทานพื้นบ้านภาคใต้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและความเชื่อ ของภาคใต้ในสมัยอดีตปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทนี้ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเยาวชน คนรุ่นใหม่ขาดความสนใจในตำนานและนิทานพื้นบ้านการพัฒนาตำนานและนิทานพื้นบ้านเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหวเป็นการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาสู่นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสามารถนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์ศีลธรรมจริยธรรมที่ปรากฏในตำนานและนิทานพื้นบ้านของภาคใต้ 2. เพื่อนำเสนอตำนานและนิทานพื้นบ้านภาคใต้มาพัฒนาเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหว (Animation) พื้นที่ในการวิจัยเป็นพื้นที่ภาคใต้จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่จังหวัดกระบี่ชุมพรนครศรีธรรมราชพังงาระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำนานและนิทานพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้าวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าตำนานและนิทานพื้นบ้านของภาคใต้ปรากฏทุกจังหวัด ผ่านการเล่าสืบทอดกันมา ได้แก่ ตำนานเรื่องถ้ำปราสาทนาฬาคิริง นิทานเรื่องลูกทรพี นิทานเรื่องเกลอเขา เกลอเล ตำนานเรื่องการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช นิทานเรื่องนายดั้น นิทานเรื่องไอ้ปูดโป่ง ตำนานเรื่องพ่อท่านกลาย เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มน้ำกลาย ตำนานเรื่องเขานางหงส์ ตำนานเรื่องถ้ำพระขยางค์ และตำนานเรื่องเจ้าพญาท่าข้าม คุณธรรมจริยธรรมที่ปรากฏได้แก่ ความสามัคคี ความมีวินัย ความกตัญญูกตเวที ความมีน้ำใจ ความขยัน ความซื่อสัตย์ และความสะอาด ซึ่งบรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์สังคมแบบเครือญาติเป็นค่านิยมของสังคมภาคใต้ และเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเฉพาะตำนานเรื่องเจ้าพญาท่าข้าม ซึ่งเป็นตำนานที่ผู้วิจัยเสนอนำมาพัฒนาเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหว (Animation) ตำนานเรื่องนี้สะท้อนศีลธรรม จริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสามัคคี และมีน้ำใจ โดยผ่านตัวละครพระยาท่าข้าม นอกจากนี้สะท้อนประวัติศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาการของจังหวัดสุราษฏร์ธานีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).ปฏิรูปการศึกษา9คุณธรรมพื้นฐานกับการศึกษา.
ค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม2560, จาก http: //www.moe.go.th/moe/th/ news/detail.php?NewsID=13677&Key=news_research

กิติรัตน์ ยศธรสวัสดิ์. (2547).เสียวสวาด (เฉลียวฉลาด): การศึกษาเปรียบเทียบฉบับ ล้านนากับฉบับอีสานเชิงคติชนวิทยา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

งามตา วนินทานนท์. (2536).ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดา มารดาที่เกี่ยวข้องกับ การอบรมเลี้ยงดูบุตร. งานการวิจัย: มหาวิทยาลัยศรีนคริ นทรวิโรฒ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.

จันทร์ดี แสงห้าว. (2542). กลวิธีการถ่ายทอดอุดมการณ์ในนวนิยายสำหรับเด็กที่ ชนะการประกวดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2531. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขา ภาษาไทย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (ม.ป.ป.). วรรณกรรมท้องถิ่นกรณีอีสานล้านช้าง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540).สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคม วิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาย โพธิสิตา. (2556) ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้น ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทวัช บุญแสง. ( 2556,19 มกราคม). สัมภาษณ์.จันทร์ สุวรรณสังข์ ณ บ้านเลขที่ 59 หมู่ 3 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ทวัช บุญแสง. (2556, 20 มกราคม). สัมภาษณ์. พานิช จันทวี.ณ บ้านเลขที่ 23/2 หมู่ 2 ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ทวัช บุญแสง. (2556, 21 มกราคม). สัมภาษณ์. วิลัย ช่วยชาติ. ณ บ้านเลขที่ 23 หมู่ 2 ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่.

ทวัช บุญแสง. (2556, 22 มกราคม ).สัมภาษณ์. เด็จ วิเชียร. ณ บ้านเลขที่ 28/3 หมู่ 5 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ทวัช บุญแสง. (2556, 23 มกราคม). สัมภาษณ์. อุทิพย์ ผุดวัฒน์. ณ บ้านเลขที่ 106/2 หมู่ 2 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช.

ทวัช บุญแสง. (2556, 24 มกราคม). สัมภาษณ์. เสาวนีย์ ศิลปวิสุทธิ์.ณ บ้านเลขที่ 41/1 หมู่ 4 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ทวัช บุญแสง. (2556, 20 พฤษภาคม). สัมภาษณ์. หัน อินทรมาต. ณ บ้านเลขที่ 47 หมู่ 5 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร.

ทวัช บุญแสง. ( 2556, 30 พฤษภาคม).สัมภาษณ์. เจี้ยน กลิ่นเกษร. ณ บ้านเลขที่ 19 หมู่ 7 ตำบลมะรุ่ย อำเภอ ทับปุด จังหวัดพังงา.

ทวัช บุญแสง. (2556, 2 มิถุนายน). สัมภาษณ์. ผัด เดชมณี. ณ บ้านเลขที่ 25 หมู่ 5 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง.

ทวัช บุญแสง. ( 2556, 5 มิถุนายน ). สัมภาษณ์. ทศพล งานไพโรจน์.ณ บ้านเลขที่ 147/323 หมู่ 6 ถนนชนเกษม ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ธานี.

น้อมจิต อนุฤทธิ์. (2542).วรรณกรรมเรื่องท้าวกำพร้า การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

นิศา ชูโต. (2551).การวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: พริ้นโพร.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2559). วรรณกรรมและภาษาภิ่นใต้. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

ปรีชา อุยตระกูล และสุวัฒน์ ช่วงเหล็ก. (2547).การศึกษาวรรณคดีอีสานในเชิง จริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

พรศักดิ์ พรหมแก้ว. (2529).นิทานพื้นบ้านภาคใต้.ในสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 5.สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2546).ความรู้คู่สังคม3: รวมผลงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. กรุงเทพมหานคร:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิภพ วชังเงิน. (2545).จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

รัชนก ถีระแก้ว. (2556).รูปแบบรายการวีดีทัศน์เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของ นักเรียนประถมศึกษา.วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย.
20 (1): 31.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537).ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น การศึกษาคติชน ในบริบททางสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2548). รายงาน ปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

อารีย์ ทองแก้ว. (2547). รายงานวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนของนิทานพื้นบ้านชาวไทย เขมรบ้านสะเดาตำบลนาบัว อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29