การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • วสุธิดา นักเกษม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ปฐมพงษ์ บำเริบ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ผู้ประกอบการ, ธุรกิจบริการ, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. ศึกษารูปแบบความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ3. ศึกษาการขยายตัวของธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจบริการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์บริหารธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการนิคมอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. แบบสอบถาม 2. แนวทางการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิพากษ์รูปแบบความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3. แนวทาง การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาการขยายตัวของธุรกิจต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรปราการ ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 3 ปัจจัยตามลำดับ ดังนี้ 1. ด้านกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ควรสร้างความประทับใจให้กับผู้รับบริการมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้รับบริการ และมีการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว 2. ด้านกลยุทธ์ต้นทุน ควรเน้นด้านคุณภาพสินค้า/บริการให้มีความเหมาะสมกับราคา ควรสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดต้นทุนใน ด้านต่าง ๆมีการควบคุมต้นทุนในทุก ๆ ด้าน 3. ด้านกลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ควรพัฒนาความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติ ได้อย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ/เว็บไซต์มาช่วยในการประชาสัมพันธ์ มีช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลและใช้ในการติดต่อสื่อสาร รูปแบบการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ จังหวัดสมุทรปราการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรเพิ่มเติมด้านกลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมบริการที่สามารถนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า การขยายตัวของธุรกิจในจังหวัดสมุทรปราการ จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ธุรกิจที่ จะขยายตัวเป็นอันดับแรกคือ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เหตุผลเพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่หลากหลาย และผลมาจากการเดินทางที่สะดวก รองลงมาคือธุรกิจ ด้านโลจิสติกส์ เมื่อธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะส่งผลต่อการขยายตัว ของธุรกิจ รวมถึงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ผู้ประกอบการมองว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีคู่แข่งขันทางการค้าเพิ่มขึ้นหรือการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีก็ตาม ดังนั้นทุกภาคส่วนธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการ ควรจะสร้างกลยุทธ์ที่แตกต่างและมองหาโอกาสที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการแข่งขันอีกทั้งควรพัฒนาความรู้เท่าทัน การสร้างความเข้าใจและการรับรู้ต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

References

กัลยาลัชญ์ เลิศสกลพันธ์. (2558). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบจากการแข่งขันทาง การตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บัตรเครดิตประเภทสะสมไมล์ของธนาคาร พาณิชย์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี.

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสมุทรปราการ.จังหวัดสมุทรปราการ. (2556). ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559, จาก http: //www.samutprakan.go.th.

จินตนา บุญบงการ. (2544) . การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณภัทร ทิพย์ศรี และคณะ. (2558) . ความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการจัดการตลาด เชิงกลยุทธ์ในยุคเศรษฐกิจแห่งการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 8 (1): 19-32.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพมหานคร: สุวีริยา สาสน.

ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2551). การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

พีรยุทธ์ พัฒน์ธนญานนท์. (2558). ผลกระทบของการเปิดเสรีในอุตสาหกรรมการ บริการของอาเซียน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.ธัญบุรี. 2 (1): 38-52.

พัชสิรี ชมภูคำ. (2553). องค์การและการจัดการ = Organization and management. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล.

เรวัตน์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร:
อินเฮาส์ โนว์เลจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2548). นโยบายธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2559). E-COMMERCE อนาคตอัน ใกล้ ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต การซื้อของของคนไทยไปตลอดกาล. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559, จาก http: //www.thai-aec.com/

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒ. (2556). นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน อนาคตไทยศึกษา.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558) .รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). จำนวน สถานประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติ แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สุวิมล แม้นจริง. (2546). การจัดการตลาด. กรุงเทพมหานคร: เอช. เอ็น. กรุ๊ป.

อรนลิน สุขศรีสวัสดิ์ และพรวิษา ลิ้มอิ่ม. (2557). การสร้างความได้เปรียบในเชิง
การแข่งขันของธุรกิจที่พักแรมในเขตชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Al-Debei, M. M., & Avison, D. (2010). Developing a unified framework of the business model concept. European Journal of Information Systems. 19(3): 359-376.

Cochran, W. G. (1972). Observational studies. In Bancroft T. A. (Ed.) (1972), Statistical papers in honor of George W. Snedecor (pp. 77-90). Ames, IA: Iowa State University Press.

Dess, Gregory G., Lumpkin, G.T,& and Eisner, Alan B. Z. (2014). Strategic Management: Creating Competitive Advantages. 4th ed. New York: McGraw-Hill.

Kotler P. (2014). Marketing management. 14 th ed. New Jersey: Prentice - Hall.Likert Rensis . (1932). A Technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 140: 1–55.

Piore, Michael J. & Charles F. Sabel. (1984). The Second Industrial Divide. NewYork: Basic books.

Porter M. (1998). Strategic Management: Competitiveness and Globalization, 5 th ed. Thomson: South – Western.

Spechler, J. W. (1988). When America Does It Right: Case Studies in Service Quality, Institute of Industrial Engineer. Norcross: GA.

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29