การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2
คำสำคัญ:
ครู, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การจัดการความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในสถานศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการจัดการความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานีเขต 2 เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 317คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การสร้างแรงบันดาลใจ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และการกระตุ้นทางปัญญา การจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการกำหนดความรู้ ด้านการแสวงความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านการเก็บรักษาความรู้และด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลการจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
คณะกรรการการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). รายงานผลการจัดการความรู้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2555. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม2557, จาก http://www. person.ku.ac.th /training/km/kmresult55.pdf.
เจษฎา นกน้อย. (2552). แนวคิดการบริหารทัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เฉลา ระโหฐาน. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและประสิทธิผลใน การบริหารงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ซาลีฮะห์ ดะเซ็ง และจรุณี เก้าเอี้ยน. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาตามความคิดเห็น ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส. มหาบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ณัชญานุช สุดชาดี. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัณฑิต แท่นพิทักษ์.(2540).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ อำนาจ ความศรัทธา และความพึง พอใจในงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยา
ศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาสิน.
บุญเรือน กิจสะสม. (2552). การศึกษาการยอมรับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขต พื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
บุญดี บุญญากิจและคณะ. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สถาบันเพิ่มผลผลิต แห่งชาติ.บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน).
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค.(2554). การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในเขตภูมิภาคตะวันตกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยา เขตกำแพงแสน.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พัชรา ทิพยทัศน์. (2551).การพัฒนาภาวะผู้นำ.ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2556,จาก http://www.br.ac.th/Elearning/.
พิสนุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณดี ชูกาล.(2540). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการความพึงพอใจในงาน ปัจจัยส่วนบุคคลกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์การของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยสังกัดกระทรวง สาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล ) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมคิด นาคขวัญ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของโรงเรียนในฝัน ในจังหวัดภาคใต้ .ดุษฎีนิพนธ์
ภาวะสาขาผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุดา ทัพสุวรรณ. (2541). ผู้นํา .กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 .(2556).ผลการ สังเคราะห์รายงานประจำปีของ สถานศึกษา ประจำปี 2556. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.surat2.go.th/data/sar.pdf.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
Fullan, M. & St. Germain, C. Learning Places. Thousand Oak, CA: Corwin Press.OntarioPrincipal’s Council, 2006.
Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization : A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว