การเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร ความต้องการใช้ประโยชน์ ความคาดหวัง ความพึงพอใจ จากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานครที่รับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 3. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับความต้องการใช้ประโยชน์จากรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการใช้ประโยชน์จากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับความคาดหวังที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 6.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับความพึงพอใจ และผลด้านอื่นๆที่ตามมาจากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้นที่เปิดรับฟังรายการวิทยุภาคภาษาอังกฤษที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนจำนวนทั้งสิ้น 400 คนซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่เปิดรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย อายุ 18-20 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานในหน่วยงานประเภทท้องถิ่น อาชีพพนักงานบริษัท โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเลือกเปิดรับรายการ F.M.107 MET MUSIC AND LYRICS มากที่สุดซึ่งมีความบ่อยครั้งในการรับฟังคือ รับฟังเป็นบางครั้งที่ออกอากาศ รับฟังอยู่ในรถฟังแบบฟังไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยสนใจมากนัก รายการที่ได้รับการเปิดรับมากที่สุด คือ รายการประเภทเพลง 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการใช้ประโยชน์รายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านความบันเทิงมากที่สุดคือ เพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลิน ความคาดหวังที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ คือ ด้านผู้ดำเนินรายการ คือ ผู้ดำเนินรายการเป็นผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี พูดได้ชัดเจนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษคือด้านพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษ คือ ได้รับความรู้ภาษาอังกฤษในแบบที่แปลกใหม่ไปจากที่เคยเรียน และกลุ่มตัวอย่างมีผลด้านอื่นๆที่ตามมาจากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษคือ อยากทำงานที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุด 3.อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ประเภทของหน่วยงาน และอาชีพมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มีเพียงเพศเท่านั้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ประชากรที่มีเพศแตกต่างกันจะมีการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน 4. ประชากรที่มีอายุน้อย ระดับการศึกษาน้อย และรายได้น้อยจะมีความต้องการใช้ประโยชน์จากรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมากกว่าประชากรที่มีอายุมาก ระดับการศึกษามาก และรายได้มาก 5. ความต้องการใช้ประโยชน์จากรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวก ทั้งนี้ขนาดความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูง มีความคาดหวังด้านรูปแบบรายการมากที่สุด 6. ความคาดหวังที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการรับฟัง (วัน/เดือน) รายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวกทั้งนี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ 7. ความบ่อยครั้งในการรับฟัง ความถี่ในการรับฟัง (วัน/เดือน) และประเภทรายการวิทยุที่รับฟังมีผลต่อ ความพึงพอใจที่ได้รับจากรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ประชากรที่มีความบ่อยครั้งในการรับฟัง ความถี่ในการรับฟัง (วัน/เดือน) และประเภทรายการวิทยุที่รับฟังแตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจที่ได้รับจากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน 8. ความบ่อยครั้งในการรับฟัง ความถี่ในการรับฟัง (วัน/เดือน) และประเภทรายการวิทยุที่รับฟังมีผลต่อ ผลด้านอื่นๆที่ตามมาจากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ประชากรที่มีความบ่อยครั้งในการรับฟัง ความถี่ในการรับฟัง (วัน/เดือน) และประเภทรายการวิทยุที่รับฟังแตกต่างกันมีผลต่อผลด้านอื่นที่ตามมาจากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน
References
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์.(2534). การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา. กรุงเทพ: สื่อมวลชนปริทัศน์.
กาญจนา แก้วเทพ.(2554). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.
กิติมา สุรสนธิ.(2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุลีพร เชวงศักดิ์โสภาคย์.(2541).การเปิดรับสื่อ การรับรู้เกี่ยวกับสังคมตะวันตก และการใช้ชีวิตแบบสังคมตะวันตก ของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหา บัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2555). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษและกลวิธีการเรียนการออก เสียงภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาสหวิทยาการชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
น้องพริ้ง(นามแฝง). (2554).Diary เก่ง Engฉบับผู้หญิงทำงาน. กรุงเทพฯ: Minibear Publishing.
พรณรงค์ พงษ์กลาง. (2553).การเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อการเรียนแบบออนไลน์. ค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ .(2555).ทำไม คนถึงฟังวิทยุในรถ. วารสารศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5
รสชงพร โกมลเสวิน และบุญชาล ทองประยูร(2540).พฤติกรรมการสื่อสาร.พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา พฤทธิพงศ์สิทธิ์.(2544).การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ ความคาดหวัง และความพึงพอใจ ของประชาชนชาว กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการติดต่อสื่อสาร และการให้บริการของ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.สาขานิเทศ ศาสตร์พัฒนาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภางค์ นันตา. (2553).การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมเกียรติ อ่อนวิมล.(2557).การใช้ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยในอาเซียน.ค้นเมื่อวันที่ 2 สิหาคม 2558 จาก englishexpress.ac.th
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข.(2536).การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม: แนวทางศึกษาวิเคราะห์และวางแผน.ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา
สำนักงานสถิติ.(2557).สรุปผลที่สำคัญการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2557 ค้นเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2556, จาก www.service.nso.go.th
อรอนงค์ ทิพย์เสถียรกุล. (2550). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนของเจเนเรชั่นเอ็กซ์ ในอำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่”. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Biagi, Shireley(1994). Media/Impact An introduction to Mass Media. 2nd ed: Wadsworth
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว